วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อุมเราะฮ์ และฮัจญ์แบบตะมัตตู้อ์

بِـــسْــــــمِ اللَّهِ الرَّحْمَانِ الرَّحِــيْــمِ

สรุปขั้นตอนอุมเราะฮ์ (และหรือ ควบรวมฮัจญ์แบบตะมัตตู้อ์)

  • เหนียต คือ ความตั้งใจ ก็มีมาตั้งแต่คิดไปแจ้งความจำนงกับแซะห์แล้ว ไม่ได้ละเมอไปหาแซะห์ จากบ้าน ก่อนออกเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ อาบน้ำญะนาบะห์ (ยกหะดัสใหญ่) เพื่อจะครองอี้หะรอม (จดเอาเลขประจำตัวบัตรประชาชน 13 หลัก ติดตัวไว้ด้วย เพื่อใช้เข้ารักษาพยาบาลจากหมอไทย)
  • ครองอี้หะรอมจากสนามบินที่ไปแวะพัก (Transit) เช่นสนามบินอัมมาน (จอร์แดน), (มานะมา) บะห์เรน, อามิเรต, มัสกัต (โอมาน), ไคโร (อิยิปต์) ละหมาดครองอี้หะรอม 2 เราะกะอัตที่สนามบินที่เราแวะพัก และละหมาดฟัรดูแบบย่อและรวม (กอศ็อร และ ญัมอะห์ ในวันเดินทาง)
  • ฏอวาฟ (ผ้าอี้หะรอม ห่มแบบสไบเฉียง) ถึงมักกะห์พักผ่อนหายเหนื่อยแล้ว ให้เข้ามัสญิดิลหะรอม ทำการฏอวาฟอุมเราะฮ์
    • เริ่มฏอวาฟที่มุมหินดำ ก่อนตอวาฟสำรวจผ้าอี้หะรอมว่าห่มแบบสไบเฉียงหรือไม่ ต้องห่มแบบสไบเฉียง ตักบีรยกมือขวา (หรือทั้งสองมือ) ขึ้นระดับไหล่ เอาฝ่ามือออกไปข้างหน้า แล้วตักบีรว่า บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร วะ ลิลลา ฮิลฮัมด์ ตอวาฟทั้งหมด 7 รอบ เดินเวียนซ้าย (เอาไหล่ซ้ายเข้าหากะอะบะห์) (ก่อนจะเข้า ฏอวาฟ ควรเดินหาซื้อลูกตัสบีหะห์เล็กๆ สำหรับตอวาฟ มีเจ็ดเม็ด ห่วงสวมเข้านิ้วพอดีๆ (รูปด้านล่าง)
  • ไปละหมาด 2 เราะกะอัต ที่บริเวณหลังมะก่อมอิบรอฮีม หรือคนแน่นมากก็เลยขึ้นไปบนมัสญิดก็ได้
    ก่อนละหมาด ต้องเปลี่ยนการห่มอี้หะรอมเป็นแบบ ปิดหมดสองไหล่ ละหมาดเสร็จแล้ว แวะหาดื่มน้ำซัมซัมก่อน แล้วเดินไปทางสะอา ไปที่เขาศอฟาก่อน
  • เดินไปทางสะอา ไปที่เขาศอฟาก่อน ยืนหันหน้าไปกะอะบะห์ ยกมือเหมือนตักบีร แล้วกล่าว บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร วะ ลิลลา ฮิลฮัมด์ เดินไปเขามัรวะห์ เป็นการเดินหนึ่งเที่ยว ต้องเดินทั้งหมด เจ็ดเที่ยว (ไม่ใช่รอบ)
    พอมาถึงเขามัรวะห์ก็ หันหน้าไปกะอะบะห์ ยกมือเหมือนตักบีร บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร วะ ลิลลา ฮิลฮัมด์
  • ตะฮัลลุ้ล ถ้าทำฮัจญ์อย่างเดียว ผู้ชายโกนหัวได้เลย (ผู้หญิงใช้ตัดผมเป็นกระจุกๆ สามกระจุก)
    แต่ถ้าทำอุมเราะฮ์และจะทำฮัจญ์แบบ ตะมัตตุอะ ให้ขริบผมอย่างน้อยสามเส้น หรือเอากรรไกรตัด ฉึบ ฉึบ ฉึบ 3 ที ก็เป็นอันเสร็จพิธีอุมเราะฮ์ที่สมบูรณ์แล้ว 
    (ทั้งในมักกะห์และทุ่งมีนามีปลั๊กไฟฟ้า 220โวลท์ให้ใช้ แต่ต้องเตรียมสายพ่วงไปกันด้วย เพราะจะมีมือถือไปทุกคน เต้าเสียบที่ โรงแรมและทุ่งมีนาไม่พอใช้)

Figure 1 ใบตรวจโรค สนง.แพทย์ไทยซึ่งต้องใช้เลข13หลักบัตร ปชช.

Figure 2 ตึกหมอไทยอยู่เยื้องๆ มัสญิดญิน ถนนมัสญิดหะร็อม
Figure 3 แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแพทย์ไทยในมักกะห์
Figure 4 การครองอี้หะรอม สำหรับตอวาฟ และสำหรับละหมาด
Left Ihram for Tawaf, Right for prayer(Salat)
มาถึงมุมที่ 4 อ่าน 
رَبَّنا آتِنا في الدُّنيا حَسَنَةً، وفي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنا عَذَابَ النّار
“ร็อบ บะนา อะตีนา ฟิดดุนยา หะซะนะห์ วะ ฟิล อาคิเราะต์ หะซะนะห์ วะ กีนา อาดาบัล นาร”
โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา โปรดประทานสิ่งดีงามให้แก่พวกเรา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และขอให้พ้นจากการลงโทษด้วยไฟนรกด้วยเทอญ แล้วอ่านซูเราะห์อื่นๆ ขออภัยโทษมากๆ
มาถึงมุมที่หนึ่ง (มุมหินดำ) ก็ทำการตักบีรอีกว่า บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร วะ ลิลลา ฮิลฮัมด์ (การนับรอบนั้นส่วนใหญ่จะนับหลง แต่ต้องมั่นใจว่าเจ็ดรอบจริงๆ ไม่แน่ใจตอวาฟเพิ่มไป ตามทางเดินมา มัสญิดหะรอม ฤดูฮัจญ์จะมีคนมานั่งขาย ลูกตัสบีหะ พวงเล็กๆ มีเจ็ดเม็ด พวงละ 2-3 ริยาล ไม่แพง ดีกว่านับรอบขาดๆ ไป) ตอวาฟครบเจ็ดรอบแล้ว
พิธีฮัจญ์ (ก่อนไปค้างคืนที่มีนา อย่าลืมซื้อ
1. เสื่อพลาสติกไปปูนอนที่มีนาและที่มุซดาลิฟะห์ด้วย และอย่าลืมซื้อ
2. มีดโกนยิลเลตต์ เอาไว้ไปโกนหัววันที่ 10 ซุลฮิจญะห์ ”วันอีด ขว้างเสาหินวันแรก”) ซื้อใบมีดไปหลายๆ อัน แบ่งๆ กันโกน ใบหนึ่งโกนได้สองสามหัวก็ทื่อแล้ว(หมดคม)
Figure 5มีดโกนสำหรับโกนหัววันอีดิลอัฏฮา(วันแรกที่ขว้างเสาหินต้นใหญ่)
พิธีกรรมฮัจญ์
  1. บ่ายหลังอัศรีแล้วของวันที่ 7 ซุลฮิจญะห์ อาบน้ำญะนาบะห์เพื่อครองอี้หะรอมฮัจญ์ เหนียตครองอี้หะรอมฮัจญ์แบบตะมัตตุอะ คอยรถมารับไปทุ่งมีนา เพื่อมะบัยต์ (مَبَيْتُ พักค้างแรมที่ทุ่งมีนา ในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์)
  2. เช้าวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ เป็นวันวุกุฟ จะมีรถมารับไปทุ่งอะรอฟาต (อย่าลืมเอาเสื่อไปด้วย) เที่ยงกว่าๆ อะซานดุฮรี ละหมาดย่อ (กอซ็อร) รวมต้น (ญะมะอ์ตักดีม) อิกอมะต์ดุฮรีแล้วละหมาดย่อดุฮรี 2 เราะกะอัต ให้สลามแล้ว ลุกขึ้นอิกอมะต์อัสรี ละหมาดย่ออัสรี 2 เราะกะอัต ให้สลามแล้ว เสร็จสิ้นแล้ว เข้าพิธีวุกุฟ อ่านดุอาอ์มากๆ ไม่พูด ไม่คุย ไม่ทำอะไรที่เป็นการเพ้อเจ้อ 
    ถึงเวลาอัสรีไม่ต้องละหมาดอัสรีแล้ว เพราะละหมาดไปแล้ว (มีคนหลงผิดละหมาดอัสรีอีก)
    อย่าลืมตุนน้ำดื่มไว้มากหน่อยไปมุซดาลิฟะห์ ที่นั่นไม่มีน้ำดื่ม
  3. เข้าเวลามักริบ ห้ามละหมาดมักริบที่ทุ่งอะรอฟาต ยังคงขอดุอาอ์ไปเรื่อยก่อน รอเวลารถมารับไป มุซดาลิฟะห์
  4. ถึงมีนาแล้วไปขว้างเสาหินต้นใหญ่ (ต้นที่สาม) ก่อนขว้างกล่าว บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุ อักบัร ทุกๆ ก้อน (รับมอบอำนาจการขว้างเสาหินแทนกันได้ แต่ต้องขว้างของตนหมดเจ็ดก้อนก่อน แล้วเริมนับ 1 ของผู้มอบอำนาจ)
  5. เชือดดัม (มอบอำนาจให้แซะห์จัดจ้างเชือดให้เสียค่าดัม คนละ 500 รียาล(5,000บาท)
  6. กลับที่พักมีนา โกนหัวได้ (ตะฮัลลุล) เปลื้องผ้าอี้หะรอมได้ ค้างคืนที่มีนา อีกสามคืน 11-12-13 เป็นวันตัชรีก ไปขว้างเสาหินหลังดุฮรีทั้งสามวัน แต่ . . . วันที่13 เช้ารีบเก็บสัมภาระเข้ากระเป๋าพร้อมเดินทางกลับมักกะห์ รีบไปรอเวลาดุฮรีที่เสาหิน ได้เวลาดุฮรี (จะได้ยินเสียงอะซาน) รีบขว้างเสาหิน แล้วรีบกลับเต้นท์ รถจะมารอรับเข้ามักกะห์ ก่อนตะวันตกดิน (ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะห์ วันกลับจากมุซดาลิฟะห์ถึงมีนาขว้างเสาหินต้นใหญ่แล้ว บางคนจะเดินเข้ามักกะห์ ไปตอวาฟ สะอา ฮัจญ์ กันให้หมดภาระเลย ระยะทางประมาณ 4-5กิโลเมตร)
Figure 6 ทิวทัศน์ทุ่งมีนา
Figure 7 บรรยากาศทุ่งอะรอฟาต
Figure 8 บรรยากาศมักริบทุ่งอะรอฟาต ห้ามละหมาดมักริบที่นี่
เมื่อมาถึงมุซดาลิฟะห์ ให้เลยเวลาอิชาอ์ไปก่อนค่อยละหมาดมักริบ เต็มสามเราะกะอัตและละหมาดอิชาอ์ ย่อ สองเราะกะอัต (ย่อและรวมหลังญะมะอ์ ตะอ์คีร) เก็บลูกกรวด 70 เม็ด ลูกไม่ต้องใหญ่นักประมาณลูกมะเขือพวงหรือปลายนิ้วก้อย นอนพักผ่อน ผู้คนเบียดเสียดยัดเยียดกันมากที่มุซดาลิฟะห์นี้ แบ่งๆ ที่ ให้กันนอน ละหมาดฟัจรี(ซุบฮิ) แล้วจึงเคลื่อนขบวนกลับทุ่งมีนา ที่ทุ่งมุซดาลิฟะห์นี้เหม็นควันไอเสียรถบัส และเหม็นกลิ่นผ้าเบรกไหม้มาก อาจจะทำให้ฮุจญาจบางคนเจ็บป่วย ไอ, เจ็บคอ, หรืออาจมีน้ำมูกไหล สถานที่คับแคบ ต้องเผื่อแผ่กันนอน ประมาณหลังเที่ยงคืน รถบัสจะทยอยมารับกลับมีนา
Figure 9 มุซดาลิฟะห์ มองเห็นหอนาฬิกาขวามือลิบๆ บนไฟดวง2
เข้ามักกะห์มาแล้ว รีบหาโอกาสไปตอวาฟ สะอา ฮัจญ์กันเสียเลย จะได้หมดภาระ สำเร็จพิธีฮัจญ์อย่างสมบูรณ์แล้วหลังตอวาฟ สะอาฮัจญ์ เหลือแต่ ตอวาฟวะดาอ์ (เป็นสุนัต) ก่อนออกจากมักกะห์ วันสองวันหรือก่อนสามวันก็ได้ 
(หลังตอวาฟ สะอาฮัจญ์แล้ว สามีภรรยาร่วมเสพเมถุนกันได้)

กลับเข้ามักกะห์จากทุ่งมีนาวันที่ 13 ซุลฮิจญะห์ ตอวาฟ สะอาฮัจญ์เรียบร้อย หมั่นหาโอกาสไปทำอุมเราะฮ์เพิ่มขึ้นอีก มีมิก็อตใกล้ๆ คือมิก็อตตะนะอีม (มัสญิดอาอิชะห์) อยู่บนถนนสาย 15 มุ่งขึ้นทิศเหนือเบนไปตะวันตกนิดหน่อย ประมาณ 5กิโลเมตร และหมั่นไปตอวาฟสุนัตให้มากๆ ไหนๆก็เสียเงินเสียเวลามาแล้ว ไม่รู้จะได้มีโอกาสมาอีกเมื่อไร

เยี่ยมมหานคร มะดินะห์ มุนะวะเราะห์

اَلْمَدِيْنَةُ الْمُنَوَرَةُ زِيَارَة
Visit The Metropolis of Al Madinah Munawarah.
เรื่องการไปเยี่ยมมัสญิดนะบะวี มะดินะห์ มุนะวะเราะห์ บางแซะห์จะไปก่อน เข้ามักกะห์ บางแซะห์จะไปทีหลังจากมักกะห์ ก็ขอแนะนำสถานที่ในมหานครมะดินะห์ให้ทราบบ้าง
  • มัสญิดนะบะวี เข้าไปละหมาดฟัรดูให้ครบทุกวักตู และมีเวลาว่าง เข้าไปเยี่ยม “เราเดาะห์” คือบริเวณบ้านท่านนบีฯ และบริเวณเมี๊ยหร็อบท่านนบีฯ และมิมบัรท่านนบีฯ
แผนผังมัสญิดนะบะวี ส่วนเราะเดาะห์ และกุโบร์นบี 
- ในสี่เหลี่ยมขอบดำขวามือ คือบริเวณบ้านท่านนบีฯ ที่อยู่กับอาอิชะห์ ห้องถัดไปข้างบน(ไม่มีรูป) เป็นบ้านอาลี บิน อบู ตอลิบ สามีนางฟาติมะห์(ลูกสาวนบี) สี่เหลี่ยมดำแคบๆ ยาวๆ 5 อัน 1, 2, และ3 คือ1.หลุมกุโบร์นบี, 2.หลุมกุโบร์อบู บักร, 3.หลุมกุโบร์อุมัร ยืนซะละวาตท่านนบีฯ และขอดุอาอ์ให้ทั้งสามท่านที่ประตู 2 นี้ (ประตู1 และ3 ไม่มีอะไร) 
- ส่วนบริเวณเราเดาะห์ (رَوْضَة ทุ่งหญ้าเขียวขจี, สวนสวรรค์ พวกแซะห์จะเรียกบริเวณพรมเขียว) ให้ละหมาดสุนัตสองเราะกะอัตก็เพียงพอ เพราะผู้คนมาละหมาดกันเยอะมาก และพวกอินเดีย ปากีสตานจะนั่งขอดุอาอ์กันนานๆ เสร็จแล้วเดินออกจากเราเดาะห์ทางด้านเมี๊ยหร็อบนบีเลี้ยวซ้ายไปกุโบร์นบีฯ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยดี ก็เดินออกจากมัสญิดทางขวามือสุด ประตูมัสญิดที่ 41 (ประตูบาเกี๊ย بَقِيْعَ cemetery)
- วงกลม2 ชั้นเส้นประ วงใหญ่ คือรูปโดมเขียวบนหลังคามัสญิดนะบะวี
- ทิศกิบละต์คือทิศใต้ อยู่ทางด้านล่างรูป ด้านบนเป็นทิศเหนือ (กิบละต์เก่าแก่ ที่มัสญิดอัลอักศอ เยรูซาเล็ม)
ภาพขยายประตูกุโบร์ บานที่2 บานซ้ายมือกุบูรนบีฯ บานขวา ซีกซ้ายกุบูรอบูบักร บานขวาซีกขวา กุบูรอุมัร
(บาน 1 และบาน 3 ไม่มีอะไร ไม่ต้องหยุด)

  • มัสญิดอัลกุบาอ์ มัสญิดแห่งแรกของมุสลิม กุบาอ์ قُبَاء interval ที่ท่านนบีฯ ฮิจเราะห์กับท่านอบี บักร ในปี ฮ.ศ.ที่ 3
เมื่อท่านทั้งสองเดินทางมาถึงที่นี่ แล้วลงพักเหนื่อยจากการเดินทาง ประชาชนต่างมาต้อนรับหนาแน่น และประชาชนจะสร้างบ้านพักให้ในที่ดินของตน แต่ท่านนบีได้ตอบว่า “ถ้าอูฐมันลงนอนพักจุดไหน ท่านจะเอาจุดนั้นเป็นมัสญิด” เจ้าของที่ดินทั้งหลายก็พอใจกับการตัดสินใจของท่านนบีฯ เมื่ออูฐหยุดลงนอนพักที่ ที่เป็นมัสญิดปัจจุบัน ท่านนบีก็ร่วมกันสร้างมัสญิดด้วยดินและก้านอินทผาลัม และได้ใช้ละหมาดวันศุกร์ด้วย

  • เขาอุหุด اُحُدُ جَبَلُ สนามรบครั้งสำคัญของมุสลิม เกิดความสูญเสียศอฮาบะห์หลายท่าน และท่านเราะซูลลุลลอฮ์เองก็ถูกยิงด้วยธนูพระทนต์หัก ผู้ที่ชะหีดในสงครามครั้งนี้มีท่าน ฮัมซะห์ ลุงท่านนบีฯ ด้วย

  • มัสญิดกิบละตัยน์ مسْجِدِ الْقِبْلَتَيْنُ เป็นมัสญิดที่เดิมที กิบละต์ที่บัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) กระทั่งอัลลอฮฺ ทรงแยกกิบละต์ออกจากยิว และนัศรอนี(คริสต์) ขณะที่ท่านนบีฯ กำลังละหมาดกันกับเหล่าศอฮาบะห์ ท่านนบีฯก็เดินจากมี้หร็อบเดิมไปด้านหลังแถวมะอ์มูม เหล่ามะอ์มูมทั้งหลายก็กลับหลังหันกันตาม แล้วละหมาดต่อไปจนจบ

  • มัสญิดซะบาอ์สมรภูมิคอนดัก สร้างเมื่อครั้งสงครามคอนดัก غزرة خَنْدَقُ มีทั้งหมดเจ็ด มัสญิด
    แผนที่แสดงสมรภูมิคอนดัก

  • มัสญิดอัลชะญะเราะห์ (ميقات ذُوْ الْحُلَيْفَةَ มีก็อตฮุลัยฟะห์) มีก็อตมัสญิด 10กิโลเมตร ถึงมัสญิดนะบะวี

  • มัสญิดอาลี บิน อบู ตอลิบ มัสญิดอบู บักร อัศศิดดิก มัสญิดเฆาะมามะห์

  • มัสญิดบิลาล

  • กุโบร์บะกี้อะ

  • พิพิธภัณฑ์สถานีรถไฟอัลฮิญาซ (اَلْحِجَازُ مَحْطَةُ قِطَارُ) สร้างเมื่อสมัยออโตมาน เรื่องอำนาจ สร้างต่อจาก ดามัสกัส (ซีเรีย) ถึงสถานี Izraa (ซีเรีย) แยกขวาออกไป Hayfa, Acer (ปาเลสไตน์) 
    ส่วนสายใต้ลงมาที่ อัมมาน (เมืองหลวงจอร์แดน) ลงมาเมือง Ma’an (จอร์แดน) ลงมา Tabuk และ Mada’in Saleh และสิ้นสุดที่นครมะดินะห์ (ซาอุดิ) ระยะทางโดยประมาณ 1,500 กิโลเมตร

แผนที่แสดงสมรภูมิ บะดัร และสมรภูมิ
(บน) มัสญิดบะดัร
(บน) กุบูรทุ่งบะดัร
(บน) กุบูรทุ่งบะดัร بَدَرُ
บะดัร بَدَرُ เป็นสงครามแรก ของมุสลิมเมืองมะดินะห์ รบกับมุชริกีนมักกะห์ ผลคือฝ่ายมุสลิมชนะ

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองยิวค็อยบัร
สงครามค็อยบัรخَيْبَر เป็นสงครามหลังสงครามอุหุดที่ฝ่ายมุชริกีนมักกะห์พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงกับฝ่ายมุสลิม สงครามค็อยบัรเป็นสงครามกับ ยิว พวกยิวในนครมะดินะห์ที่มีอยู่อย่างมากมายหลายก๊ก หลายเผ่า ถูกกวาดต้อนจนหมด พวกที่อยู่ต่อในมะดินะห์ได้คือพวกที่ยอมรับอิสลามเท่านั้น สงครามค็อยบัร ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายมุสลิม แต่ฝ่าย ยิวกลับสูญเสียกำลังพลไปมากมาย และถูกยึดเครื่องสัมภาระ สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ ทาสไว้หมด ปล่อยให้อพยพไปได้ด้วยเฉพาะเสบียงที่เพียงพอกับการเดินทาง เหตุที่ท่านนบีฯ ขับไล่พวกยิวให้ไปให้พ้นดินแดนทะเลทรายนี้เพราะยิวมักจะก่อกวนความสงบ จ้องจะสังหารท่านนบีฯ หน้าไหว้หลังหลอกว่า ยอมรับอิสลาม แต่บางครั้งก็สมคบคิดกระด้างกระเดื่องต่อกฎหมายอิสลาม

ภาพบนคือ ภาพถ่ายทางอากาศอาคารเสาหินทั้งสามต้น ที่ทางการซาอุดิ อาราเบียก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ฮุจญาจ ทุ่งมีนาจะถูกออกแบบให้เป็นโซน เช่นโซนเอเชีย โซนยุโรป โซนอเมริกา โซนแอฟริกา แต่ละโซนจะถูกบังคับให้เดินไปตามถนนและสะพานลอยที่กำหนดให้ พอมาถึงที่อาคารเสาหิน แต่ละถนนหรือสะพานลอยก็จะเข้าไปตามทางของแต่ละชั้นของอาคาร ไม่ปะปนคนแต่ละโซนกัน ซึ่งเป็นที่น่าพอใจมาก สามารถระบายฮุจญาจได้คราวละสองสามล้านคนได้ภายในช่วงเวลาเพียง 6 ชั่วโมง


เรียบเรียงโดยฮัจญีอิสมาอีล เพ็ญพันธ์ aswasal@gmail.com

ข้อห้ามบางส่วนในอิสลาม

ข้อห้ามบางส่วนในอิสลาม

1.ห้ามตั้งหุ้นส่วนหรือภาคี หรือนำสิ่งใดมาเทียบเคียงกับ อัลลอฮฺ ว่าให้คุณให้โทษแก่เราได้
2.ห้ามชิริก (ชิริกคือการเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นใหญ่แล้วยึดมั่น ถือมั่นว่า ดีแล้วถูกแล้ว) เช่นการเอาแต่ใจตนเป็นใหญ่ ทำอะไรผิดพลาดไปมีคนมาติเตียนแล้ว ไม่ยอมรับฟัง เอาแต่อ้างว่า ตนทำดี ทำถูกแล้ว นี่ก็เท่ากับชิริกกับ อัลลอฮฺ คือเอาใจตนเป็นที่ตั้ง
3.ห้าม เชื่อเรื่องดวงชะตา ราศี ผูกดวง หมอดู ห้ามถือโชคลางของขลัง ฤกษ์ยามและไสยศาสตร์ ทั้งหลาย การทำเสน่ห์ เวทมนตร์ ตะกรุด ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง เชื่อการทำนายโชคชะตา การทำนายฝัน ท่านนะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า " แท้จริงการเป่าคาถาอาคม การแขวนเครื่องรางของขลัง และการทำเสน่ห์ยาแฝดนั้น เป็นชิริก (ตั้งภาคี)"
4.ห้ามล่นการพนันทุกรูปแบบ เสี่ยงโชค
5.ห้ามเสี่ยงทาย ดูดวง โชคชะตาราศี
6.ห้ามซื้อขายหวยใต้ดินและสลากกินแบ่งรัฐบาล
7.ห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง และสัตว์ที่มิได้เชือดด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ยกเว้น ตั๊กแตน ปลา สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล
8.ห้ามดื่ม กินอาหารอย่างฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เหลือทิ้งขว้าง
9.ห้ามเสพ หรือขาย หรือนำพา สิ่งของมึนเมาทุกชนิด และสิ่งเสพติดทุกรูปแบบ
10.ห้าม ผิดประเวณี ห้ามสำส่อนทางเพศลักลอบเสพกามา ไม่ว่าระหว่างชาย หญิง หรือเพศที่3 ไม่ว่าด้วยการยินยอม หรือสมัครใจ หรือการจ่ายค่าตอบแทน และห้ามอ่านหรือสนับสนุนสื่อ ที่นำพาไปสู่การผิดประเวณีและอบายมุข
11.ห้ามฆ่าสิ่งมีชีวิตโดยเจตนา ปราศจากความเป็นธรรม (ฆ่าสัตว์เพื่อรับประทานได้ และฆ่าสัตว์ร้ายเพื่อปกป้องชีวิต แต่ก่อนอื่นพยายามไล่มันไปก่อน)
12.ห้ามติดสินบนทุกชนิด
13.ห้ามสู่รู้เรื่องของผู้อื่น และอย่านำเรื่องของผู้อื่นไปพูดหรือเปิดผย
14.ห้าม เฉยเมย เมื่อมีคนทักทาย
15.ห้ามบริโภคน้ำและอาหารที่รู้ว่ามาจากการทุจริต
16.ห้ามกระทำการใดๆ ที่สร้างความเดือดร้อน อันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
17.ห้ามเข้าไปในบ้านของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต
18.ห้ามประกอบอาชีพที่ขัดต่อศีลธรรม คุณธรรม ซึ่งอาชีพเหล่านั้นจะนำไปสู่ความหายนะ
19.ห้ามทำแท้ง เว้นแต่มีความจำเป็นที่ชอบด้วยบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม
20.ห้ามเป็นคนหลงชาติ หลงตระกูล หลงตัวเองว่า ดี มี เก่ง รู้ มากกว่าคนอื่น
21.ห้ามกักตุนสินค้า และค้ากำไรเกินควร
22.ห้ามขายสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ แล้วโฆษณาว่าดีมีคุณภาพ เท่ากับหลอกลวงขายสินค้า
23.ห้ามสตรีเปิดเผยอวัยวะทีพึงสงวน นอกจากใบหน้าและมือ
24.ห้ามสตรีแต่งกายด้วยเสื้อผ้าบาง รัดรูปร่าง ยั่วยวน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรม
25.ห้ามใช้เวลาและทรัพย์สินไปในทางไร้ประโยชน์
26.ห้ามร่วมประเวณีกับภรรยาขณะมีประจำเดือน และทางทวารหนัก
27.ห้ามเรียกผู้อื่นโดยฉายาแทนชื่อของเขา
28.ห้ามคบค้าสมาคมกับทรราชผู้กดขี่ คนเลว
29.ห้ามหนีทัพในขณะประจัญบาน
30.ห้ามคนสองคนพูดภาษาเดียวกันที่คนที่สามฟังไม่รู้เรื่อง หรือห้ามการซุบซิบในสองคนโดยมีคนที่สามอยู่ด้วย
31.ห้ามเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยทุกรูปแบบ ทุกชนิด
32.ห้ามถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระลงในแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร สระ บ่อ
33.ห้ามอิจฉาริษยา จงยินดีกับเขาที่มีฐานะดีหรือได้ดีมีสุข
34.ห้ามเป็นพยานเท็จ
35.ห้ามบิดพลิ้ว ผิดสัญญา
36.ห้ามเบียดเบียน ยักยอก ทรัพย์สินของเด็กกำพร้าหรือผู้อื่น
37.ห้ามสิ้นหวังในความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะ ฮูวะ ตะอาลา
38.ห้ามสัมผัสมือและส่วนอื่นๆ กับผู้ที่แต่งงานกันได้
39.ห้ามผู้ชายทำตัวเลียนแบบผู้หญิง และห้ามผู้หญิงเลียนแบบผู้ชาย
40.ห้ามมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
41.ห้ามฆ่าตัวตายไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม
42.ห้ามมุสลิมใช้ภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากทองคำและเงิน
43.ห้ามปฏิเสธการเรียกหาของสามีต่อภรรยา หรือภรรยาเรียกหาสามี แม้จะทำครัวอยู่ก็ตาม เพราะต่างคนเป็นอาภรณ์ต่อกัน
44.ห้ามปรึกษาหารือเรื่องภายในครอบครัวกับเพื่อนบ้านหรือบุคคลภายนอก
45.ห้ามใช้เหตุผลหรืออารมณ์ตน เพียงคนเดียว อย่าลืมว่า ครอบครัวต้องประกอบด้วยคนสองคนขึ้นไป ลดหรือละทิ้ง มิจฉาทิฐิ (ความเป็นตัวเองด้านมืด) คำว่าครอบครัวสูงส่งกว่าคำว่าตนเอง
46.ห้ามทำโทษด้วยการตบหน้า หรือทำร้ายที่ใบหน้า
47.ห้ามยืนดื่มหรือกิน
48.ห้ามพูดคุยขณะอุจจาระหรือปัสสาวะ
49.ห้ามกินดื่มด้วยมือซ้าย
50.ห้ามกินดื่มจนอิ่มเกินไป กินอาหารเพียง1/3 ของกระเพาะ และน้ำอีก 1/3 ที่เหลือเป็นลมอากาศ
51.ห้ามซื้อ-ขายแมว หมา
52.ห้าม ซื้อ-ขาย-นำพา-ดื่ม-ร่วมวง กับสุรา เมรัย หรือสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วมึนเมา
53.ห้ามลูกๆ ตวาด ออกเสียง ออกอาการ ทำตาขึงขังจ้องมองหน้า ทำท่าทาง ไม่พอใจ บุพการี พ่อ แม่ 
อัลลอฮฺ บอกว่า "สวรรค์นั้น อยู่ใต้ฝ่าเท้าของแม่เจ้า จงหมั่นดูแล เอาใจใส่ เรื่อง อาหาร ยา เสื้อผ้า น้ำที่ท่านจะอาบเย็นไปไหม หิวของหวานไหม อยากได้อะไรเพิ่มเติมจากที่กิน ทุกๆ วันไหม สับเปลี่ยนผลไม้ให้กินบ่อยๆ มื้อละนิดละหน่อย พอชื่นใจ พาหลานๆ มาให้ท่านเล่น ชื่นชมบ่อยแค่ไหน
54.ห้ามยุแหย่ ยุยงให้คนทะเลาะกัน แตกความรักความสามัคคีกัน
55.ห้ามใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเงินทองสิ้นเปลือง ต้อง อดออมมัธยัสถ์
56.ห้ามนินทา ว่าร้ายผู้อื่น (การนินทาเปรียบได้ดังการกินซากศพญาติพี่น้องกันเอง)
57.ห้าม บ่น ว่าร้าย ดูถูก อาหาร (เช่นอาหารไม่อร่อย ให้กินได้เท่าที่กิน ห้ามบ่นว่า อาหารไม่อร่อยเลย) 
และห้ามดูถูกน้ำ (เช่นการอ้างว่าน้ำนี่ไม่ดี ไม่อร่อย ต้องน้ำนั้น น้ำนี้สิ ดีกว่า)
58.ห้ามกินอาหารและเครื่องดื่ม เย้ยหยัน ยั่วยวน โอ้อวด คนข้างบ้านที่ยากจนกว่า หรือถ้ามีอาหารที่เพียงพอในครอบครัวแล้ว จงแบ่งปันเพื่อนบ้านบ้าง อย่าให้ของเหลือจากกินแล้ว จงให้ของที่ไม่ใช่เศษเหลือเดน
59.ห้ามพูดจา โอ้อวด โหวกเหวก ด้วยเสียงดัง ไปจนทั่วท้องถนน
60.ห้ามนั่งอุจจาระ ปัสสาวะที่โล่งกลางแจ้ง โดยไม่มีอะไรปิดบังด้านหน้า ไม่อะไรจริงๆ ให้ใช้กิ่งไม้ปักไว้ข้างหน้าก็ยังดี
61.ห้ามพูดจาเปรียบเปรยว่าคู่ครองของตนเหมือนพ่อแม่ เช่น เปรยว่า เธอนี่ช่างเหมือนแม่เธอเสียจริง 
คุณนี่ทำเหมือนเป็นพ่อคนที่สองเลย
62.ห้ามหญิงที่มีเลือดระดู น้ำคาวปลา เลือดเสียอื่นๆ เข้าไปในมัสญิด และหยิบ จับ หรือ อ่าน อัลกุรอาน
63.ห้ามภรรยาถือศีลอดอาสา (นอกเดือน เราะมะฎอน) เว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
64.ห้ามภรรยาออกนอกบ้านโดยไม่มีมะห์ร็อม (สามี ลูกชาย หลานชาย น้า อา ลุง ปู่ ตา ผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้ ผู้ช่วยเหลือ คุ้มกัน) และต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
65.ห้ามภรรยาอยู่ในที่ลับระหว่างชายอื่น เว้นแต่มะห์ร็อม
66.ห้ามภรรยาเปิดประตูรับชายอื่นเข้าบ้าน และห้ามสามีพาหญิงอื่นเข้าบ้าน ยกเว้นทาส และญาติชิด
67.ห้ามสามี ดุ ด่า ว่ากล่าว เฆี่ยนตีภรรยาด้วยความโมโห โทโส เคียดแค้น โดยไร้เหตุอันควรและห้ามด่านางถึงบรรพบุรุษ
68.ห้ามปฏิเสธคำเชิญในงานแต่งงาน และพิธีศพ(ละหมาดและตามไปส่งลงหลุม) 
(สมัยโบราณแขกจะมาช่วยงานด้วยแรงกายและของช่วย เช่น พริก หอม กระเทียม ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล มะพร้าว ไข่เป็ดไข่ไก่ แต่สมัยนี้ไม่มีใครตุนวัสดุเหล่านี้แล้ว ก็มาช่วยงานด้วยเงินแทน คิดเฉลี่ยตัวคนๆ ละ250.- ถ้าบ้านเราไปกัน4คนก็ควรใส่ซองช่วยไป 1,000.- อย่าเห็นแก่ตัว เมื่อถึงยามที่ต้องช่วยกันก็ต้องช่วย เพื่อหวังการตอบแทนที่เพิ่มพูนจาก อัลลอฮฺ (คุณกินอาหารตามห้างร้าน มื้อหนึ่งก็3-400แล้ว)
69. ห้ามพูดจาโอ้อวด โหวกเหวก ด้วยเสียงอันดัง ไปจนทั่วท้องถนน
70. ห้ามพูดจาโกหก หลอกลวง เพ้อเจ้อ ตลกโปกฮา
71. ห้ามปล่อยให้เพื่อนบ้านหิวโหย ขณะที่ตนกินอิ่มก็ดี นอนหลับก็สบาย
72. ห้ามพูดกับ สามี หรือภรรยา เปรียบเปรย เปรียบเทียบเหมือน เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เช่น สามีพูดเปรียบกับภรรยาว่า "หน้าอกเธอ เหมือนของแม่เธอเลย" สามีพูดว่า "เธอนี่บ่นเหมือนแม่เธอเลย" ภรรยาพูดว่า "คุณนี่สอนฉันอย่างกับเป็นพ่อเลย" สามีพูดว่า "พาลูกสาว (คือภรรยา) ไปเยี่ยมพ่อแม่หน่อย"
73. ฯลฯ

คลุมฮิญาบของยิวในโตรอนโต แคนาดา 
เหมือนการคลุมของมุสลิมะต์ในอิสลาม
การคลุมฮิญาบของคริสต์ออร์โธด็อกซ์การคลุมฮิญาบยิวเห็นหน้าและมือการคลุมฮิญาบอิสลามเห็นหน้าและมือ

เรียบเรียงโดยฮัจญีอิสมาอีล อานนท์ เพ็ญพันธ์ aswasal@gmail.com

ถือศีลอดเราะมะฎอน

بِـــسْــــــمِاللَّهِ الرَّحْمَانِ الرَّحِــيْــمِ
พิธีการและข้อกำหนดในการถือศีลอดเราะมะฎอน
และถือศีลอดอาสานอกเดือนเราะมะดอน
اَلصَّوْمُ الْرَمَضَانُ
Ramadan (Fasting month)
เดือนเราะมะฎอนในความเชื่อของศาสนาอิสลาม
เป็นเดือนที่พี่น้องชาวมุสลิมทุกคนต้องถือศีลอด
صَوْمُ الْرَمَضَانُ อ่านว่า เซา มุ้น เราะ มะ ดอน เพื่อให้เข้าใจถึงความทุกข์ยาก
ลำบากกายใจ เพื่อจะได้ฝึกความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสยั่วยุ ทั้งหลายทั้งปวง และจะยอมตนทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ
ให้รำลึกถึงความทุกข์ยาก รำลึกถึงความศรัทธาที่มีต่อพระองค์ ให้หมั่นตอบแทนบุญคุณต่อพระองค์
طَاعَةُ (Obedienceรำลึกถึงว่ามีเงินทองมากมายก็ใช้ซื้ออะไรกินไม่ได้ในตอนกลางวัน
ที่ถือศีล-อด อยู่ สอนให้อดเพราะเชื่อในคำสั่งอัลลอฮฺให้อด
สิ่งต่างที่เคยเป็นสิ่งอนุมัติ กลับต้องเป็นหะรอม
حَرَامُ(taboo) ต้องงดในตอนกลางวัน
พิธีการ คือต้องบริโภคอาหาร น้ำ และอื่น ๆ ที่อนุญาตให้บริโภค
ก่อนเวลาแสงทองของตะวันจะจับขอบเส้นฟ้า โดยประมาณ ตี 3.30 – 04.30 นาฬิกา
(ดูปฏิทินเวลาโคจรของตะวันอีกที)
ซุนนะต์นบี "ให้กินแต่พอดี แบ่งกระเพาะเป็นสามส่วน อาหาร / น้ำ / อากาศ
อย่างละส่วน
ข้อกำหนดในการถือศีลอดในตอนกลางวัน มีข้อปฏิบัติดังนี้
1. ห้ามกิน ดื่ม เสพสิ่งต่างเข้าร่างกาย
หรือ จิตใจ เช่น ห้ามเสพบุหรี่ ยาดม ยานัตถุ์
2. ห้ามดูหนัง ฟังเพลง, ห้ามร้องรำทำเพลง
3. ห้ามเคล้าคลอเคลีย กอด จูบ ลูบไล้
ร่วมสังวาส (รวมทุกกรณีที่ทำให้เกิดเป็นสุขขึ้นมา) กันกับคู่สมรส
4. ห้ามโมโหโกรธา ฉุนเฉียว ถ้าจะมีเรื่องมีราว
ให้รีบผละหนีไปเสียก่อน หรือปล่อยมันผ่านเลยไป
ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องเอามาทำให้ตบะ*[1] แตก
5. ห้ามพูดจาเพ้อเจ้อ พร่ำเพ้อ
รำพึงรำพันถึงคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ส่อเสียด ยุยง ใส่ความ กลับกลอก
6. ห้ามหลบแอบนอนทั้งวัน ให้ทำงานปกติ
ถ้าปากแห้งมากๆ ให้บ้วนน้ำล้างปากได้
7. ห้ามละศีลอดกลางคันขณะที่ยังไม่ถึงเวลา
ยกเว้นสตรีมีระดู (حَيْضَ Menstruationน้ำคาวปลา คลอดบุตร มีเลือดเสียอื่นๆ (ชายที่หลับฝันกลางวันแล้วน้ำอสุจิออก
ไม่เสียศีลอด ให้รีบอาบน้ำญะนาบะห์)
8. ห้ามไม่ให้ถือศีลอดโดยไม่บริโภคอาหาร "ซะฮู้รسَحُوْرِคืออาหารมื้อก่อนรุ่งอรุณ
ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงแสงขาวจับริมขอบฟ้า (อะซาน)
" เมื่อถึงเวลามักริบ (ตะวันลับขอบฟ้าแล้ว)
ให้รีบละศีลอดโดยเร็ว ห้ามถ่วงเวลาเอาไว้ ดื่มน้ำสักแก้ว กินอินทผาลัมสัก 2 - 3
เม็ด แล้วไปละหมาดมักริบเสียก่อน ละหมาดแล้วรีบกลับมากินอาหารหลัก อิ่มดีแล้ว
กลับไปละหมาดสุนัตหลังมักริบ 2 เราะกะอัต
9. ห้ามกินยาเม็ด ยาฉีด ยาพ่นคอ (หอบหืด)
ควรไปหาหมอตอนค่ำหลังแก้บวชแล้ว
10. ผู้ที่ยังไม่มีน้ำละหมาด และยังไม่ได้อาบน้ำญะนาบะห์ ก็กินอาหาร "ซะฮูร" ได้
แต่ให้รีบอาบก่อนละหมาดซุบฮิ(รุ่งอรุณ)
ผู้ที่ขาด การถือศีลอดทุกคน ผู้ป่วยเรื้อรัง คนชรา กรรมกรแบกหาม หรือผู้ใช้แรงงานหนัก ผู้ที่ทำหน้าที่หรือดูแลควบคุมเครื่องจักรกล มีข้อยกเว้นให้ ไม่ต้องถือศีลอด และไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ต้องจ่าย ฟิดยะห์ (فِدّيَةُ ค่าไถ่, สินไหม) คนละ 1 ซออ์ (หรือปริมาณ สามลิตร) ข้าวสารหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม หรือใช้เป็นเงินทดแทน (เพื่อทางเลือกผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาต ในการเลือกซื้ออาหารตามใจชอบ) จ่ายฟิดยะห์คนละ อย่างน้อยสุด 50 บาท (ใครทำบุญมากก็ได้ผลบุญกลับคืนมามากเป็นเงาตามตัว
ส่วนผู้เดินทาง ผู้ป่วยเฉพาะวัน หญิงมีระดู ขาดศีลกี่วันต้องถือศีลชดใช้
และต้องจ่ายสินไหม (กัฟฟาเราะห์ كَفَارَةُ) เป็นอาหารหนึ่งมื้อ หรือข้าวสารอาหารแห้ง 2 มุด 
(مُدُ หนึ่งมุด=0.75ลิตร, 2มุด=1.50ลิตร / 4 มุดเป็นหนึ่ง ซออ์ หนึ่งซออ์มี 3 ลิตร) ในแต่ละวัน
ซะกาตุ้ลฟิตรี, กัฟฟาเราะห์, ฟิดยะห์ คือ ข้าวสาร อาหารแห้ง ที่ใช้จ่ายเป็นซะกาตหรือค่าชดเชยหรือค่าสินไหม ให้แก่บุคคลทั้ง8 ประเภท จะเป็น เนื้อแห้ง, ข้าวบาเร่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว อินทผาลัม ลูกเกด นมเปรี้ยว(ละบัน) ลูกมะกอกดองเค็ม(ใช้กินกับเนยเปรี้ยว (جِبْنَةُ) ชีส (جِبْنَةُ)
บุคคล 8 ประเภทที่มีสิทธิ์รับซะกาต*[2]และค่าสินไหม (กัฟฟาเราะห์)
1. คนอนาถา (ฟะกีร) ได้แก่บุคคลไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ เนื่องจากขาดสมรรถภาพบางประการในร่างกาย จำเป็นต้องได้รับการอนุเคราะห์
2. คนขัดสน (มีสกีน) ได้แก่ผู้ที่มีความสามารถจะเลี้ยงชีพได้แต่ขาดแคลน เนื่องจากความยากจน เช่น แม่หม้ายที่สามีตายต้องเลี้ยงลูกกำพร้าตามลำพังโดยที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ
3. ผู้รวบรวมและจ่ายซะกาต ได้แก่เจ้าหน้าที่ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นให้รวบรวมเก็บซะกาตไปแจกจ่ายแก่บุคคล หรือองค์การที่พึงได้รับ ซึ่งแสดงว่าการรวบรวมและการแบ่งทรัพย์นี้ต้องอาศัยองค์การกลาง ซึ่งเรียกว่า บัยตุลมาล คือคลังเก็บสิ่งที่ได้จากการรับซะกาต (คลังซะกาต)
4. ผู้ที่ควรแก่การปลอบใจ ได้แก่ผู้ที่จะมาหรือได้รับนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อเข้ามาใหม่ ๆ ก็อาจจะอัตคัตขาดแคลนด้วยถูกตัดญาติจากพ่อแม่พี่น้อง จึงสมควรได้รับการอุปการะ หากเป็นผู้มั่งคั่งก็ไม่ต้อง
5. เชลยหรือทาส ซึ่งไม่สามารถไถ่ตนเองได้ แสดงถึงการที่อิสลามช่วยในการเลิกทาส
6. ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบสัมมาอาชีวะ แต่หากเป็นหนี้จากการเสียพนัน การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ฯลฯ ไม่จัดอยู่ในประเด็นที่จะนำซะกาตไปไถ่ถอน
7. ผู้เดินทาง ที่มีความจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือ เช่น ขาดปัจจัยในการเดินทางกลับมาตุภูมิของตน
8. การบริจาคในแนวทางของอัลเลาะห์ (พี สบีลิลลาฮ์) ในประเด็นนี้กว้างมาก นั่นคือในกิจการกุศลทั่วไป เช่น นำไปสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สาธารณสถานต่าง ๆ ปกป้องประเทศขจัดความไม่รู้หนังสือ ฯลฯ ใครมีความจำเป็นต้องเดินทางไกล อนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอดได้ แต่ ต้องมาถือศีลอดชดใช้หนี้ในวันหลัง หลังจากเดือนเราะมะฎอนผ่านพ้นไปแล้ว หรือใครจะถือศีลอดได้ก็ทำไปตามแต่อัตภาพ ในยามค่ำคืน หลังละหมาดอิชาอ์แล้ว จะมีการละหมาด "ตะเราะวี้หะ" 8 เราะกะอัต + วิติรอีก 3 ในยามค่ำคืนใช้ชีวิตได้ตามปกติ จะทำอะไรได้ทุกอย่างที่ฮะล้าล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
*[1] ความเพียร,เครื่องเผาผลาญกิเลส,การข่มกิเลส
*[2] ซะกาต คือภาษีชนิดหนึ่งในอิสลาม ซึ่งจะเรียกเก็บจากผู้ที่มีเงินตราเก็บออมครบจำนวนหนึ่งแสนบาท ครบรอบปีจันทรคติ(254-355วัน) เศาที่ไม่ครบแสนไม่บังคับนำจ่าย แต่ถ้าใครอาสาสมัครจ่ายเต็มจำนวนทั้งหมดที่มีในมือ ก็ย่อมได้ผลบุญที่เพิ่มทวี นอกจาดเงินตราแล้ว ยังเก็บจากเครื่องประดับเงิน ทอง ที่เกินน้ำหนัก 5บาท ปศุสัตว์ ผลผลิตการเกษตร สิรคาคงคลัง (ติดตามอ่านเรื่องซะกาตต่อไป)