วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ละหมาด الصلاة Prayer


 بِــسْــــــــــــمِ للهِ الرَّحْــمَــنِ الرَّحِيـــــمِ


ละหมาด

الصلاة

Prayer
ละหมาดตามซุนนะตุ้นนบี سنة النبي Sunnah of the Prophet

รุกนุ่นละหมาด أركان الصلاة 

  1. กล่าวตักบีร (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر) 
  2. รุกูอะอย่างสงบนิ่ง 
  3. เงยจากรุกูอะยืนให้ตรงและนิ่ง 
  4. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
  5. เงยขึ้นมานั่งอย่างสงบนิ่ง 
  6. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
ละหมาดเป็นหลักการปฏิบัติ (รุกุ่น الركن ) ที่สองของรุกุ่นอิสลาม (หลักการปฏิบัติในอิสลาม 5 ประการ Five Pillars of Islam خمسة أركان الإسلام ) และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งรองลงมาจากการปฏิญาณตนว่าเป็นมุสลิม เพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาที่ต้องดำรงไว้ขณะที่ยังชีวิตยังมีอยู่

อัลลอฮฺได้กำชับและฝากฝังบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายให้มุสลิมทั้งหลายรักษาและดำรงไว้ซึ่งการละหมาดห้าเวลา

حَـٰفِظُواْ عَلَى ٱلصَّلَوَٲتِ وَٱلصَّلَوٰةِ ٱلۡوُسۡطَىٰ وَقُومُواْ لِلَّهِ قَـٰنِتِينَ 

พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮ์โดยนอบน้อม سورة البقرة اية 238 ซูเราะห์อัลบะกะเราะห์ อายะห์ที่ 238
และ สิ่งสุดท้ายที่ท่านรอซูล ได้ฝากไว้กับเหล่าเศาะหาบะฮฺ (صحابة ) ของท่านก่อนที่ท่านจะกลับคืนสู่อัลลอฮุ คือการละหมาด ห้าเวลา

คำสั่ง คำดำรัส โองการ ทั้งหลายที่มาสู่ท่านนบีมุฮัมมัด อัลลอฮ์ จะโองการ (วะฮี وحي) ผ่าน มะลาอิกะห์ (ملاكة) แล้วท่านนบีจะนำเอาพระดำรัสจากอัลลอฮ์มาเผยแผ่สั่งสอน ขยายความ แก่เหล่าเซาะฮาบะห์ (สาวก صحابة) เหล่าเซาะฮาบะห์ก็จะทำการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไว้บนแผ่นหนัง แผ่นหิน กระดูก ซึ่งจะมีการตรวจทานกันและกัน และอ่านทานให้ท่านนบีฟังซ้ำเพื่อความถูกต้อง
โดยคำว่า "ละหมาด" ที่ใช้เรียกกันในภาษาไทยนั้น คำดั้งเดิมแท้จริงของมันในภาษาอาหรับคือ เศาะลาตุ (Salah, صلاة) ความหมายของศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคือ สวดมนต์ อ้อนวอน สักการะ บูชา ขอพร คำว่า “ละหมาด” ในภาษาไทยแผงมาจากคำว่า “นมาซ” نماز ภาษาเปอร์เซีย ชาวปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศก็ใช้เรียกการนมัสการสักการะอัลลอฮุ ว่า ”นมาซ نماز “ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาเปอร์เชียพวกพ่อค้าวานิชชาวเปอร์เชียที่เข้ามาค้าขายสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา

การละหมาดเป็นศาสนกิจอันหนึ่งที่จะช่วยสานสายสัมพันธ์อันดีงามและมั่นคงระหว่าง อัลลอฮุกับบ่าวของพระองค์ นับตั้งแต่เราเริ่มกล่าวตักบีรฺ (อัลลอฮุ อักบัรฺ الله اكبر ) ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ขณะนี้บ่าวกำลังเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ พระองค์ผู้ทรงสร้าง เพราะว่าตั้งแต่ตักบีรจนถึงการให้สลาม เราจะเห็นได้ว่ากิริยามารยาทและทุกอิริยาบทที่ถูกแสดงออกมาในช่วงประกอบพิธี ละหมาดนั้น คืออิริยาบทของบ่าวผู้อ่อนแอที่กำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระองค์อัลลอฮฺ



ผลสำหรับผู้ที่รักษาไว้ซึ่งการละหมาดก็คือ การละหมาดจะช่วยชำระบาป และจะช่วยชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ หรือบาปอันเป็นสิ่งโสโครกที่ติดอยู่ให้หมดสิ้นไปดั่ง หะดีษที่มีความว่า “พวก ท่านลองตอบสิว่า ถ้าหากว่าหน้าประตูบ้านของพวกท่านมีแม่น้ำไหลผ่าน เพื่อที่พวกท่านจะได้อาบน้ำชำระร่างกายห้าครั้งในทุก ๆ วัน แล้วท่านยังจะมีสิ่งสกปรกหรือกลิ่นตัวติดหรือค้างอยู่อีกไหม?” บรรดาผู้ที่ฟังท่านอยู่ตอบว่า จะไม่มีสิ่งสกปรกลงเหลือเลย ท่านก็กล่าวอีกต่อไปว่า “ดังนั้นการละหมาดห้าเวลาก็เช่นกัน อัลลอฮฺจะทรงชำระบาปและความผิดต่างๆ ของพวกท่านด้วยการละหมาด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

ความสะอาด (الطهارة) Purity, Cleanness
ในหลักศาสนาอิสลาม กำหนดว่า ความสะอาดร่างกายที่พร้อมจะทำการละหมาดได้ คือ
1. สิ่งสกปรกภาษาอาหรับว่า (นะญิส نجس “เอกพจน์”, نجاسة “พหูพจน์”) Dirtiness – ของสกปรก, ทำให้เปื้อน, เปื้อนเปรอะ, ผง, ฝุ่น, ละออง, สกปรก, หยาบโลน, คำประมาท, น่าเกลียด, ผรุสวาท, (อากาศ) ชื้นแฉะ, เลวทราม
2. ร่างกายมีสิ่งสกปรกเล็กน้อย เรียกว่ามีหะดัสเล็ก (حدث صغير) ให้ทำสะอาดด้วยการอาบน้ำละหมาดเล็กก็เพียงพอ หรือเรียกว่าทำวุฎุอ์ (الوضوء Ablution)

เหตุที่ทำให้เกิดสิ่งสกปรกเล็ก (หะดัสเล็ก) คือ
  • ผายลม อุจจาระ ปัสสาวะ 
  • นอนหลับ 
  • เป็นลมหมดสติ 
  • การหลั่งของน้ำอสุจิชายในทุกกรณี 
  • การร่วมเมถุนกับทุกเพศ และสัตว์ 
  • อาเจียน (มัซฮับฮะนาฟี เสียน้ำละหมาด) 
3. ร่างกายมีสิ่งสกปรกใหญ่ หรือมีมลทินจากศาสนบัญญัติ เรียกว่าหะดัษใหญ่ (حدث كبر) – ให้อาบน้ำด้วยวิธี อาบน้ำญูนุ้บหรืออาบน้ำญะนาบะห์ (جونب “เอกพจน์”, جنابة “พหูพจน์”)

เหตุที่ทำให้เกิดสิ่งสกปรกใหญ่ (หะดัษใหญ่) คือ
  • มีเพศสัมพันธ์ ถึงแม้นว่าจะไม่ถึงจุดกระสัน (زة الجماع Orgasm) หรือไม่ก็ตาม และจะมีการหลั่งน้ำอสุจิด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้ามีการเอาอวัยวะเพศชายสอดเข้าล่วงล้ำตั้งแต่ปากช่องคลอดแล้วเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่า เสียความสะอาดตามหลักอิสลามทั้งคู่ (ญูนุบ) แล้ว ต้องอาบน้ำญะนาบะห์ 
  • ชายหลั่งน้ำอสุจิในทุกกรณี 
  • หญิงคลอดบุตร (الولادة), หญิงแท้งบุตร (خسارة), หญิงมีระดู (حيض), หญิงมีน้ำคาวปลา (النزيف بعد الولادة), หญิงมีเลือดนิฟาส (نفاس), หญิงเลือดเสียอื่นๆ (الدم الفاسد) 
  • ความตาย (เมื่อตายแล้ว ก่อนจะห่อผ้ากะฝั่น ต้องอาบน้ำ "ญะนาบะห์" ให้ผู้ตายด้วย) 
วิธีอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์ الوضوء Ablution)
ก่อนน้ำจะถูกมือให้กล่าวก่อนว่า بسم الله الرحمان الرحيم “บิสมิลลา ฮิรเราะมา นีรเราะฮีม”
แปลว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮุ ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ” แปลว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮุ ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ”


1. ชำระมือทั้งสองข้างถึงข้อมือ โดยให้น้ำถูกมือขวาก่อน ด้วยน้ำสะอาด ปราศจากกลิ่น สี
และเปิดน้ำเบาๆ ใช้น้ำน้อยๆ ประหยัดน้ำให้มากๆ ล้างถูตามง่ามนิ้วด้วย


2. บ้วนปากถูฟัน สูดน้ำเข้าจมูกเล็กน้อยแล้วสั่งออกมา 
และใช้นิ้วมือชอนไชเข้าไปถูเอาเศษน้ำมูกออกมา


3. ล้างใบหน้าให้ทั่วตั้งแต่ไรผมหน้าผากจรดหูและคาง ถ้ามีหนวดเครา ให้เช็ดล้าง สางให้สะอาด


4. ล้างแขนขวาก่อนถึงข้อศอก


ล้างแขนซ้ายถึงข้อศอก


5. เอามือเปียกน้ำมาเช็ด ลูบผมด้วยมือทั้งสองข้างจากหน้าผาก
ไปจรดท้ายทอยและเช็ดย้อนกลับมาถึงหน้าผาก
อิริยาบถนี้มือจุ่มเปียกน้ำแค่ครั้งเดียว เช็ดผมไป-กลับ และเช็ดใบหูทั้งสองทั้งนอกและใน


เช็ดใบหูทั้งด้านในและด้านนอกทั้งสองข้างพร้อมกัน ด้วยนื้วชี้ 
เช็ดด้านในใบหู และใช้นิ้วโป้งเช็ดด้านหลังใบหู


6. ล้างเท้าข้างขวาก่อน ล้างถึงตาตุ่ม ล้างถูง่ามนิ้วด้วย


ล้างเท้าข้างซ้ายถึงตาตุ่ม ล้างถูง่ามนิ้วด้วย

***ทุกอิริยบถต้องใช้น้ำทำวุดุอ์อย่างประหยัดที่สุด และน้ำดื่มก็ต้องดื่มให้หมดห้ามเหลือทิ้ง อัลลอฮ์ตำหนิคนใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย

หลังจากทำวุฎูอ์ الوضوء เสร็จมีรายงานจากท่านอุมัรฺ อิบนฺค็อฏฏอบเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวความว่า “ใครก็ตามที่ทำวุฎูอ์เสร็จแล้วกล่าวว่า

أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، اللَّهُمَّ اجْعَلْنِي مِنَ التَّوَّابِينَ وَاجْعَلْنِي مِنَ الْمُتَطَهِّرِينَ؛ فُتِحَتْ لَهُ ثَمَانِيَةُ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ يَدْخُلُ مِنْ أَيِّهَا شَاءَ
ความว่า “ข้าพระองค์ ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าใด ๆ ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ ร่วมกับพระองค์ และข้าพระองค์ขอปฏิญาณว่ามุหัมมัด เป็นบ่าวและศาสนฑูตของพระองค์ โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้โปรดให้ข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ที่สำนึกผิดต่อพระองค์ และขอได้โปรดให้ข้าพระองค์เป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่รักษาความสะอาดด้วยเถิด” นอกจากว่าประตูสวรรค์ทั้งแปดบานจะถูกเปิดขึ้นเพื่อรับเขา โดยเขาจะเลือกเข้าทางบานไหนก็ได้” (รายงานโดยมุสลิม เลขที่: 234)

ตะยัมมุม تيمم คือกรณีที่ไม่มีน้ำให้ทำวุฏุอ์ แต่จำเป็นต้องละหมาดแล้ว ก็ต้องใช้วิธี ตะยัมมุม คือการชำระด้วยผงฝุ่นดินหรือทรายที่แห้ง
วิธีการทำ ตะยัมมุม มีดังนี้คือ

1. เอาฝ่ามือทั้งสองตบลงไปบนพื้นที่สะอาดและแห้ง หรือฝาผนัง หรือกำแพง (กรณีผู้ป่วยนอนอยู่กับที่ ขยัยเขยื่อนไปไหนไม่ได้ ก็ทำตะยัมมุมกับพื้นที่นอน และนอนละหมาดใช้มือทำท่าทางเอาได้ “ตามความ ตีความของนักการศาสนาบางคน”) แล้วนำเอาฝ่ามือทั้งสอง
2. ลูบใบหน้าครั้งเดียวจากหน้าผากลงมาจรดคาง และ
3. มือซ้ายมาลูบที่หลังแขนขวาตั้งแต่ศอกจนสุดหลังมือ (ด้านหน้ามือไม่ต้อง) แล้วนำ
มือขวาไปลูบหลังแขนซ้ายตั้งแต่ศอกจนสุดหลังมือ เพียงแค่นี้ก็เรียกได้ว่ามี วุฎูอ์แล้ว (ใช้ตบดินเพียงครั้งเดียว)
ท่านนบี ทำตะยัมมุมโดยเช็ดใบหน้าและมือทั้งสองด้วยการตบดินเพียงครั้งเดียว ณ จุดที่ท่านจะทำการละหมาดไม่ว่าบริเวณดังกล่าวจะเป็นดินทะเลสาบแห้งหรือทรายก็ตามมีบันทึกรายงานที่ถูกต้องจากท่านว่า 
 «حَيْثُما أَدْرَكَتْ رَجُلاً مِنْ أُمَّتِي الصَلاةُ فَعِنْدَهُ مَسْجِدُهُ وطهُورُه »[رواه البخاري برقم 328 ومسلم برقم 521]

ความว่า “เมื่อได้เวลาละหมาดไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดจากประชาชาติของฉันจะอยู่แห่งหนใดก็ตามเขาก็มีที่ละหมาดและมีสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดเสมอ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺหะดีษเลขที่ 328 และมุสลิมหะดีษเลขที่ 521)

ญะนาบะห์ جنابة
ญะนาบะห์ หรือจะรู้จักในคำว่า “ญูนุ้บ جنب” ญูนุบเป็นคำภาษาอาหรับ (ในรูปเอกพจน์ ถ้าพหูพจน์คือ ญะนาบะห์) มีความหมายว่าร่างกายตัวเรามีมลทิน เปรอะเปื้อน ไม่สะอาด จากสิ่งที่อิสลามบัญญัติไว้ คือ
  • มีเพศสัมพันธ์ ถึงแม้นว่าจะไม่ถึงจุดกระสัน (زة الجماع Orgasm) หรือไม่ก็ตาม และจะมีการหลั่งน้ำอสุจิด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้ามีการเอาอวัยวะเพศชายสอดเข้าล่วงล้ำตั้งแต่ปากช่องคลอดแล้วเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่า เสียความสะอาดตามหลักอิสลามทั้งคู่ (ญูนุบ) แล้ว ต้องอาบน้ำญะนาบะห์ 
  • * การเสพกามาหรือเสพเมถุนหรือเสพสังวาส ระหว่างผู้ที่รักร่วมเพศนั้น ตามทัศนะอิสลามศึกษาถือว่ามีความผิด และการกระทำเรื่องเพศของเขาทั้งสองมี ญูนุบต้องอาบน้ำญะนาบะห์ 
  • ** ผู้ที่แสดงออกว่าตนมีความเบี่ยงเบนทางเพศ (เป็นเกย์เป็นเลสเบี้ยน) ต้องถูกเนรเทศ (ตามทัศนะอิสลาม) ฉะนั้นเขาจึงต้องฝืนยอมรับสภาพกายที่อัลลอฮุได้ให้มา และปฏิบัติไปตามสภาพเพศที่ตนได้รับมา เฉกเช่นคนยากจน (فقير ฟากีร) (مسكين มิสกีน) คนเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ (بدوي) พวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ต้องการเป็นอย่างที่เขาเป็นอยู่ พวกเขาต้องการจะหาทางหลุดพ้นจากสิ่งที่เขาเป็นอยู่ แต่ต้องสร้างความศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮุให้มา 
  • การหลั่งอสุจิชายจากทุกกรณี 
  • คลอดบุตร แท้งบุตร หญิงมีระดู มีน้ำคาวปลา เลือดเสียอื่นๆ 
เมื่อร่างกายมีญูนุ้บ (มลทินทางศาสนบัญญัติ) มีหะดัษใหญ่ก็ต้องชำระร่างกายให้สะอาดด้วยวิธีการทางศาสนาดังนี้

การอาบน้ำญะนาบะห์ (หรืออาบน้ำญูนุ้บ)
ก่อนเข้าห้องน้ำกล่าวนามของอัลลอฮุก่อน بسم الله الرحمان الرحيم บิสมิลลา ฮิรเราะมา นีรเราะฮีม ”ด้วยพระนามของอัลลอฮุ ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ”

ก้าวเข้าห้องน้ำด้วยเท้าซ้าย อ่าน”อะอูซู บิลลาฮิ มินัชชัยตอนนีรเราะญีม
أعوذ بالله من الشيطان الرجيم
ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮุให้พ้นจากชัยตอนที่ถุกสาปแช่งด้วยเถิด
  • เปิดน้ำชำระมือขวาก่อนและตามด้วยมือซ้าย 
  • ล้างทวารหนักและทวารเบา ล้างสะดือ 
  • บ้วนปากถูฟัน 
  • สูดน้ำเข้าจมูกเล็กน้อยแล้วสั่งออกมา และใช้นิ้วมือชอนไชเข้าไปถูเอาเศษน้ำมูกออกมา 
  • ล้างใบหน้าให้ทั่ว 
  • ล้างแขนขวาถึงข้อศอก ล้างแขนซ้ายถึงข้อศอก
  • ลาดน้ำที่ซีกขวาของหัวแล้วขยี้ก่อน แล้วจึงลาดน้ำซีกซ้ายถูขยี้ แล้วจึงลาดให้ทั่วๆ ทั้งหัว
  • ล้างถูใบหูข้างขวา และข้างซ้าย 
  • ลาดน้ำที่ลำตัวซีกขวาก่อน แล้วลาดน้ำที่ซีกซ้าย 
  • ลาดน้ำล้างท่อนขาข้างขวาก่อน แล้วจึงล้างท่อนขาข้างซ้าย
  • ล้างเท้าถึงตาตุ่มข้างขวาก่อน แล้วจึงล้างเท้าถึงตาตุ่มข้างซ้าย

แค่นี้ก็เสร็จจากการทำ “ญะนาบะห์” หรืออาบน้ำญูนุบ


สิ่งที่ทำให้ความสะอาดทั้งเล็กและใหญ่ตามบัญญัติอิสลามเสียไป

(เสีย الوضوء หรือเรียกกันว่าเสียน้ำละหมาด) ซึ่งเป็นเหตุให้ทำละหมาดไม่ได้ ได้แก่
  • การผายลม
  • การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
  • นอนหลับ 
  • เป็นลมหมดสติ 
  • 1. มีเพศสัมพันธ์ ถึงแม้นว่าจะไม่ถึงจุดกระสันزة الجماع Orgasm, หรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ตาม ถ้ามีการล่วงล้ำเข้าไปในช่องคลอดแล้วเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่า เสียความสะอาดตามหลักอิสลามทั้งคู่ (ญูนุบ) แล้ว ต้องอาบน้ำญะนาบะห์ 
  • 2. การหลั่งอสุจิชายจากทุกกรณี 
  • 3. คลอดบุตร (الولادة), แท้งบุตร (خسارة), หญิงมีระดู (حيض) มีน้ำคาวปลา (النزيف بعد الولادة), เลือดนิฟาส (نفاس), เลือดเสียอื่นๆ (الدم الفاسد) 
สามสาเหตุหลังนี้เสียน้ำละหมาด (วุฏุอ์) แล้ว ยังมีมลทิน (ญูนุ้บ) อีกด้วย จำเป็นต้องอาบน้ำ
“ญะนาบะห์” หลังจากผ่านพ้นเหตุต่างๆ เหล่านั้นมา

เงื่อนไขของการละหมาด
1. ต้องปราศจากหะดัษใหญ่ (ร่างกายมีมลทิน “ญูนุ้บ”) และหะดัษเล็ก (สี่ข้อแรกของสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด)
2. ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ละหมาด ต้องสะอาด
3. ต้องปกปิดเอาเราะห์ กล่าวคือ ผู้ชายต้องปิดตั้งแต่สะดือถึงหัวหัวเข่า ผู้หญิงจะต้องปกปิดทั่วร่างกาย ยกเว้นมือและใบหน้า
4. ต้องหันหน้าไปทิศทางกิบลัต (คือสถานที่ตั้งอัลกะอะบะห์ “บัยตุ้ลเลาะฮ์” ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอราเบีย)
5. ต้องรู้และมั่นใจว่าได้เวลาละหมาดนั้นๆ แล้ว
6. มีการประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะห์ اقامه ) แม้จะละหมาดคนเดียวก็ต้องอิกอมะห์
7. ต้องรับว่ามุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติการละหมาด
8. ต้องไม่ตั้งใจเปลี่ยนเจตนาละหมาดไปทำอย่างอื่น มีเจตนา (เหนียต) ที่แน่วแน่

สถานที่ละหมาด موقف الصلاة  position for praying.
-  พื้นแผ่นดินทุกแห่งนั้น อนุญาตให้ทำเป็นสถานที่ละหมาดได้
-  ผู้ละหมาดบนพื้นที่ไม่เรียบ ขรุขระ หรือมีเศษหินเศษทราย อนุญาตให้ละหมาดบนผ้าปู ผ้ารอง หรือเสื่อได้
-  อนุญาตให้ละหมาดบนถนนได้หากมีความจำเป็น เช่น เนื่องจากความคับแคบของมัสญิด ทั้งนี้ต้อง
   คำนึงความต่อเนื่องของแถวละหมาดด้วย
-  ที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลคนหนึ่งนั้นให้เขาละหมาดในมัสญิดที่ใกล้บ้านของเขาโดยไม่จำเป็นต้องกระจาย    ให้ทั่วทุกๆ มัสญิดนอกจากด้วยเหตุผลที่อนุญาตโดยศาสนา

สถานที่ห้ามละหมาด
  1. ในห้องน้ำ 
  2. สถานที่เผาขยะ กองขยะ 
  3. สถานที่มีสิ่งปฎิกูล (นะญิส نجيس ) 
  4. คอกปศุสัตว์ 
  5. ทางเท้า 
  6. บนหลังคากะอะบะห์ 
  7. กลางตลาด 
  8. บนพื้นถนนที่มีผู้คนสัญจรไปมาขวักไขว่ 
  9. ในโรงอาบน้ำสาธารณะ 
  10. ในสุสาน (เว้นแต่จะละหมาดญะนาซะฮฺ صلاة الجنازة Funeral prayer.) 
  11. ในสถานที่ที่ทำพิธีกรรมของศาสนาอื่น 
ข้อห้ามขณะละหมาด
  • ห้ามหลับตา 
  • ห้ามขยับร่างกาย เกาเนื้อตัวหัวหู ลุกลี้ลุกลน จนดูไม่สุขุมไม่มีสมาธิ 
  • ห้ามก้าวเดินเกินสามก้าว(กรณีละหมาดญะมาอะห์ในมัสยิดแล้วแถวข้างหน้ามีช่องว่าง ให้ขยับเดินไปเติมเต็ม) 
  • ห้ามพูดคุยใดๆ 
  • ห้ามกลืนกินน้ำและอาหาร (เศษอาหารที่ติดตามซอกฟันต้องทำสะอาดปากและฟันทุกครั้งที่กินอาหาร) 
  • ห้ามผายลม อุจจาระปัสสาวะ 
  • ห้ามลอยหน้าลอยตา หันมองเหลือบมองที่อื่น นอกจากจุดสุญูด 
ชนิดของการละหมาด มี 2 ชนิด คือ

1. ภาคบังคับฟัรดู الفرائض
2. ภาคสมัครใจ มีชื่อเรียกว่าละหมาดตะเฏาวุอฺ صلاة التطوع (ละหมาดสุนัต)

     1. ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรดู الفرائض ) วันละ 5 เวลา (การละเลยละหมาดชนิดนี้เป็นบาป)
         1.1 พลบค่ำ (มัฆริบ المغرب Sunset) เริ่มตั้งแต่ตะวันลับขอบฟ้า ประมาณ 6 โมงเย็น (ห้ามเอาเวลาโมงยามประมาณการเหล่านี้ไปอ้างอิง เพราะมันขึ้นกับการโคจรของดวงอาทิตย์ในแต่ละเดือน วันเวลาจึงสั้นยาวไม่เท่ากัน) มีจำนวนละหมาดที่บังคับ 3 เราะกะอัต
         1.2 กลางคืน (อิชาอ์ العشاء Night) ก่อนนอน หรือหลังจากตะวันลับฟ้าไปหนึ่งชั่วโมงเศษ ประมาณ 2 ทุ่มไปจนศุบฮิ มีจำนวนละหมาดที่บังคับ 4 เราะกะอัต
         1.3 ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ الصبح Dawn) เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ประมาณว่าตี 5 - 6 โมงเช้า มีจำนวนละหมาดที่บังคับ 2 เราะกะอัต
         1.4 บ่าย (ซุหฺริ الظهر Past at Noon) เริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยเงาเริ่มพ้นจากเงาตรงหัว ประมาณว่า เที่ยงครึ่ง มีจำนวนละหมาดที่บังคับ 4 เราะกะอัต
         1.5 เย็น (อัศริ العصر After noon) เงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเกินเท่าตัวมันเอง ประมาณ บ่าย 3 ครึ่ง มีจำนวนละหมาดที่บังคับ 4 เราะกะอัต

*เราะกะอัต ركعت เอกพจน์ ركعات พหูพจน์ คือส่วนของการละหมาดประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่กำหนดโดยท่านนบีมุฮัมมัด คือเริ่มจากการ
  1. กล่าวตักบีร (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر) 
  2. รุกูอะอย่างสงบนิ่ง 
  3. เงยจากรุกูอะยืนให้ตรงและนิ่ง 
  4. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
  5. เงยขึ้นมานั่งอย่างสงบนิ่ง 
  6. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
เสร็จจากหกข้อนี้แล้วเรียกว่า “หนึ่งเราะกะอะต์) หลังจากนั้นแล้วลุกขึ้นมายืนทำเราะกะอัตที่สองต่อไป แล้วอ่านฟาติหะห์และซูเราะห์อื่น ก้มโค้งคำนับ ก้มกราบลงพื้นสองครั้ง และนั่งตะชะฮู้ด (อ่านอัตตะฮิยาต) และอ่านซอละหวาตนบี (อัลลอฮุมมะ ซ็อลลี่ อ้าล่า มุฮัมมัดฯ) ให้สลามข้างขวาและซ้าย เป็นอันว่าทำเสร็จแล้วสองเราะกะอัต

     2. ละหมาดภาคสมัครใจ
ตะเฏาวุอฺ صلاة التطوع  ละหมาดสุนัต คือการละหมาดภาคสมัครใจ ละทิ้งไม่บาป ทำได้บุญ และมีภาคผลในการช่วยซ่อมเสริมเติมเต็มให้กับละหมาดฟัรดู (ภาคบังคับ) ที่อาจจะบกพร่อง ไม่เรียบร้อย ไม่สุขุม ละหมาดสุนัตมีหลากหลาย พอสรุปได้ ดังนี้

ละหมาดสุนัตเราะวาติ๊บที่เป็นมุอั๊กกั๊ต เป็นละหมาดสุนัตที่ท่านนบี ทำเป็นประจำ โดยเฉพาะสุนัตเราะวาติ๊บ (رواتب) ที่ท่านไม่เคยทิ้งเลยคือ สุนัตก่อนละหมาดซุบฮิ (ฟะญัร) 2 เราะกะอัต ละหมาดสุนัตชนิดนี้มีทั้งก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู คำว่า
“มุอั๊กกั๊ต” หมายความว่า เป็นละหมาดสุนัตที่ท่านนบี ทำเป็นประจำ
ละหมาดสุนัตก่อนฟัรฎู เรียกว่า “สุนัตก็อบลียะฮ์ اَلْقَبْلِيَّةُ “
และละหมาดสุนัตหลังฟัรฎู เรียกว่า “สุนัตบะอฺดียะฮ์ اَلْبَعْدِيَّةُ “

       2.1 ละหมาดสุนัตเราะวาติ๊บมุอั๊กกั๊ดมีรายการดังนี้
           2.1.1. สองเราะกะอะต์ ก่อนละหมาดซุบฮิ الصبح
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (راصي الله عنها) ได้กล่าวว่า



أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَكُنْ عَلَى شَيْءٍ مِنْ النَّوَافِلِ أَشَدَّ مُعَاهَدَةً مِنْهُ عَلَى رَكْعَتَيْنِ قَبْلَ الصُّبْحِ
“แท้จริงท่านนะบี ไม่เคยทำสิ่งหนึ่งจากบรรดาสิ่งที่เป็นสุนัตอย่างเป็นประจำที่สุดมากไปกว่าสองเราะกะอัตก่อนซุบฮิ” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษลำดับที่ 1196) และมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 724)
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (راصي الله عنها) กล่าวเช่นกันว่า
عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ رَكْعَتَا الْفَجْرِ خَيْرٌ مِنْ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا
“จากท่านนะบี ท่านได้กล่าวว่า สองเราะกะอะต์ (ก่อน) ซุบฮิประเสริฐกว่าดุนยาและสิ่งที่อยู่ในดุนยา” รายงานโดยมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 725)

           2.1.2 ก่อนละหมาดซุฮ์ริ الظهر 2 หรือ 4 เราะกะอัต และหลังละหมาดซุฮ์ริ الظهر อีก 2 เราะกะอัตท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า

صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَبْلَ الظُّهْرِ سَجْدَتَيْنِ وَبَعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ

“ฉันเคยละหมาดพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก่อนละหมาดซุฮ์ริสองร็อกอะฮ์และหลังซุฮ์ริสองเราะกะอัต” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (หะดีษลำดับที่ 1165) และมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 729)

           2.1.3. ไม่มีละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาด อัสรี่ العصر

           2.1.4. หลังละหมาดมัฆริบ المغرب 2 เราะกะอัต
ท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า

“ฉันเคยละหมาดพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮ์ ก่อนละหมาดซุฮ์ริสองเราะกะอัตและหลังซุฮ์ริสองเราะกะอัตและหลังละหมาดมัฆริบสองเราะกะอัต” รายงานโดยอัลบุคอรี(หะดีษลำดับที่ 1165) และมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 729)
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า
(ท่านละหมาดสุนัตมักริบในบ้าน แล้วจึงมาละหมาดอิชาอฺร่วมกัน แล้วท่านก็เข้าบ้านละหมาดสุนัตอีก 2 เราะกะอัต

* ท่านนบี เน้นให้ละหมาดสุนัตในบ้าน แม้แต่ไปละหมาดวันศุกร์ ท่านก็จะกลับมาละหมาดสุนัตที่บ้าน

صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَبْلَ الظُّهْرِ سَجْدَتَيْنِ وَبَعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ وَبَعْدَ الْمَغْرِبِ سَجْدَتَيْنِ

           2.1.5. หลังละหมาดอิชาอ์ 2 สองเราะกะอัต

كَانَ يُصَلِّي بِالنَّاسِ الْمَغْرِبَ ثُمَّ يَدْخُلُ فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ وَيُصَلِّي بِالنَّاسِ الْعِشَاءَ وَيَدْخُلُ بَيْتِي فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ทำการละหมาดมัฆริบพร้อมผู้คนทั้งหลาย หลังจากนั้นท่านเข้ามา (ในบ้านของฉัน) แล้วท่านละหมาดสองเราะกะอัต และท่านละหมาดอิชาอฺพร้อมผู้คนทั้งหลายและท่านก็เข้ามาในบ้านของฉัน แล้วละหมาดสองเราะกะอัต” รายงานโดยมุสลิม (หะดีษลำดับที่ 730)

ละหมาดสุนัตที่ต้องละหมาดร่วมกัน
  1. ละหมาดวันศุกร์ الجمعة บังคับสำหรับชาย เป็นการละหมาดแทนดุฮรี่ในวันศุกร์ มีคุตบะห์ก่อนละหมาด 2 เราะกะอัต เป็นหน้าที่บังคับสำหรับชาย 
  2. ละหมาดตะรอวีหะห์ التراويح หลังละหมาดอีชาอฺ ในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอนเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบี ส่งเสริมให้กระทำ ไม่บังคับ 
  3. อิสติสกออ์(ขอฝน) الاستسقاء การละหมาดอิสติสกออ์เป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ละหมาดได้ทุกเวลานอกจากเวลาห้ามละหมาด และที่ดีที่สุดคือให้ละหมาดหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก 
  4. กุสูฟเมื่อเกิดสุริยคราส الكسوف กุสูฟ (สุริยุปราคา) คือ การที่แสงตะวันถูกบังไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางวัน 
  5. คุสูฟ จันทรคราส الخسوف คุสูฟ (จันทรุปราคา) คือ การที่แสงจันทร์หายไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางคืน 
  6. อีดทั้งสอง العيدين การละหมาดอีดุลฟิฏรีหลังจากถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้ครบสมบูรณ์แล้ว ส่วนการละหมาดอีดุลอัฎหานั้นในวันที่ 10 แห่งซุลหิจญะฮฺ ละหมาดทั้ง 2 นี้ท่านนบี ส่งเสริมให้ไปร่วมรื่นเริงกัน แม้แต่สตรีที่มีเฮฎ (ระดู) 
ละหมาดสุนัตที่ละหมาดเดี่ยวได้
  1. ละหมาดดุฮา الضُّحَىٰ การละหมาดฎุฮา เป็นการละหมาดที่เป็นสุนัต ซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องมีสองร็อกอะฮฺ แต่จะละหมาดมากเท่าใดก็ได้ไม่จำกัด เวลาในการละหมาดฎุฮา คือหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก 
  2. ละหมาดฮาญัต الْحَاجَةِ เพื่อขอพรให้พระองค์ประทานให้ตามประสงค์ ควรละหมาดหลัง 24.00 น. เป็นละหมาดเพื่อขอสิ่งที่ต้องการ กระทำครั้งละ 2 เราะกะอัต 
  3. ละหมาดตะฮัจญุด التهجد ละหมาดกิยามุลลัยล์ เป็นละหมาดมุฏลัก ซึ่งเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ใช้ให้เราะสูลของพระองค์ปฏิบัติเป็นประจำ 
  4. ละหมาดอิซติคอเราะฮ์ الاستخارة อิสติคอเราะฮฺ คือ การขอทางเลือกจากอัลลอฮฺในการตัดสินใจเลือกเอาสิ่งหนึ่งจากหลายๆ สิ่ง 
  5. ละหมาดสุนัตเราะวาติ๊บ رواتب สุนัตเราะวาติบ คือการละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎุ ซึ่งมีสองประเภทด้วยกัน มุอักกะดะฮฺ และไม่มุอักกะดะฮฺ 
  6. ละหมาดวิติร الوتر การละหมาดวิตรฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ เป็นละหมาดเดียวที่ละหมาดหนึ่งเราะกะอะต์ ทำ 2 เราะกะอัตแล้วให้สลาม และละหมาดอีกหนึ่งแล้วให้สลาม (3 เราะกะอัต 2 สลาม) แต่ถ้าจะทำ 3 เราะกัตให้สลามครั้งเดียวก็ใช้ได้ 
  7. ละหมาดตะหิยะตุ้ลมัสยิด تحية المسجد เป็นละหมาดสุนัตที่ไม่บังคับ 
· - ละหมาดมุฏลัก เป็นการละหมาดสุนัตทั่วไปที่ไม่มีมูลเหตุเฉพาะเจาะจง นั้นมีบัญญัติให้ละหมาดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺและประเสริฐที่สุดคือละหมาดกลางคืน
· - ละหมาดคอย ไม่ว่าจะคอยอะไร เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ทำละหมาดครั้งละ 2 เราะกะอัต ไปเรื่อย ๆ

ละหมาดซุนนะต์เราะวาติ๊บ رواتب
จำนวนเราะกะอัต الكمية ركعات Quantity of Bows (Rukua)
1.  มักริบ Maqrib مغرب มีซุนนะต์หลัง 2
2.  อิชาอ์ Isha عشاء มีซุนนะต์หลัง 2
3.  ซุบฮิ Fajri صبح มีซุนนะต์ก่อน 2
4.  ดุห์รี่ Dhuhri ظهر มีซุนนะต์ก่อน 2  และ มีซุนนะต์หลัง 2
5.  อัสรี่ Asri عصر ไม่มีละหมาดซุนนะต์ใดๆ ก่อนหรือหลัง

เครื่องแต่งกายในการละหมาด
สุนัตสำหรับมุสลิมที่จะละหมาดให้ละหมาดด้วยเครื่องแต่งการที่ดูดี สะอาด เพราะอัลลอฮฺนั้นคือผู้ที่สมควรที่สุดที่จะต้องเข้าหาพระองค์ในสภาพที่ดูดีและสะอาด เช่น ผู้ชายสวมเสื้อแขนยาว สวมโสร่ง หรือกางเกงที่อย่าให้เลยพ้นตาตุ่มลงมา เพราะเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) สำหรับผู้ชายในการที่จะส่วมใส่เสื้อผ้าหรืออื่นๆ ด้วยการปล่อยให้ยาวพ้นตาตุ่มลงมา (อิสบาล) ทั้งในละหมาดและนอกละหมาด ส่วนผู้หญิงนั้นอนุญาตให้ใช้ได้

จากอบูฮุร็อยเราะห์ว่า ท่านเราะซูล กล่าวว่า “สิ่งซึ่งเป็นชายผ้าหรือกางเกง ที่ยาวลงมาต่ำกว่าตาตุ่ม นั่นคือไฟนรก” (บันทึกโดย บุคอรี ลำดับหะดีษที่ 5341, นะซาอีลำดับหะดีษที่ 5236 และอะห์หมัดลำดับหะดีษที่ 9555)
อีกหะดีษบทหนึ่งเป็นหะดีษที่ท่านเราะซูลลุลลอฮิ กล่าวไว้ว่า “ ผ้านุ่งของผู้ชาย (ปล่อยให้) ยาวประมาณครึ่งหน้าแข้ง และถือว่าไม่เป็นไร (คือไม่มีบาป,หาก) ปล่อยให้ยาวลงมาอยู่ระหว่างสองหน้าแข้งกับสองตาตุ่ม ส่วน (การปล่อย) ลงมาต่ำกว่าสองตาตุ่ม นั่นคือไฟนรก (ส่วน) บุคคลใดที่ลากชายผ้านุ่งของเขาในสภาพที่โอ้อวด แท้จริงพระองค์จะไม่มองเขา (ในวันกิยามะฮฺ) “ (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 3570, อิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 3563, อะหฺมัด หะดีษที่ 10587 และมาลิก หะดีษที่ 1426)

ขอบเขตเอาเราะห์ทั้งของผู้ชายและผู้หญิง
เอาเราะห์ عورة คือส่วนของร่างกายที่ควรนุ่งห่มให้ปกปิด ของผู้ชายนั้นอยู่ในระหว่างสะดือถึงหัวเข่า ส่วนของผู้หญิงนั้นทั่วทั้งร่าง นอกจากใบหน้า และสองมือ และสองเท้า
หะดีษของท่านอุมามะฮฺเล่าว่าเขาได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า“ บุคคลใดที่ปรากฏว่าเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันสุดท้าย(วันสิ้นโลก) เช่นนั้นเขาอย่าได้สวมใส่ผ้าไหม และ ทองคำ “ (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 21218) อีกหะดีษบทหนึ่งจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺจากท่านรสูลุลลอฮฺ โดยท่านรสูลห้ามสวมแหวนทองคำ “ (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 5415 และมุสลิมหะดีษที่ 3896) จากหะดีษทั้งสองข้างต้น ศาสนาห้ามมุสลิมชายสวมใส่ทองคำ และผ้าไหมอย่างเด็ดขาด

รุกุนละหมาด (الفضل الاول في أركان الصلاة)

เล่าจากอบี ฮุร็อยเราะห์ (ร.ด.) ว่า ท่านนบี (ซ.ล.) “เมื่อเจ้ายืนขึ้นทำละหมาด จงกล่าวตักบีร (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر) ได้เข้าไปในมัสยิด แล้วมีชายคนหนึ่งตามเข้าไป เขาได้ละหมาด แล้วเข้ามาทักทายด้วยการกล่าวสลามแก่ท่านนบี ท่านนบี (ซ.ล.) ได้ตอบรับสลามแก่เขาชายผู้นั้นแล้วกล่าวว่า จงกลับไปละหมาด เพราะเจ้ายังไม่ได้ละหมาด ชายผู้นั้นได้ไปละหมาด แล้วกลับมาและให้สลามแก่ทท่านนบี (ซ.ล.) แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า จงกลับไปละหมาด เพราะเจ้ายังไม่ได้ละหมาด (ได้กล่าวอย่างนี้ซ้ำกันถึงสามครั้ง) ชายผู้นั้นได้กล่าวว่า สาบานต่อผู้ที่แต่งตั้งท่านมาพร้อมด้วยสัจธรรมว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถทำให้ดีกว่านี้ได้ ดังนั้นจงสอน (วิธีละหมาด) ให้ข้าพเจ้า ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า เมื่อเจ้ายืนขึ้นทำละหมาดจงกล่าวตักบีร (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر) หลังจากนั้นจงอ่านสิ่งที่สะดวกแก่ท่านจากคัมภีร์อัลกุรอาน หลังจากนั้นจงก้มรุกูอะ จนเจ้านิ่งอยู่ในอาการสงบ ในสภาพรุกูอะ หลังจากนั้นเจ้าจงเงยขึ้นจนอยู่ในสภาพยืนตรง แล้วก้มลงกราบสุญูด จนอยู่ในอาการที่สงบ ในสภาพก้มกราบสุญูด หลังจากนั้นเงยขึ้นมานั่งในอาการสงบ ต่อจากนั้นก้มกราบด้วยอาการสงบ แล้วจงกระทำอย่านี้ในละหมาดของเจ้าทั้งหมดจนเสร็จ รายงานโดยห้าคน (บุคอรี มุสลิม อบูดาวูด อัตติรมิซี และนะซาอี )

สรุปรุกุนจากหะดีษ
  1. กล่าวตักบีร (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر) 
  2. รุกูอะอย่างสงบนิ่ง 
  3. เงยจากรุกูอะยืนให้ตรงและนิ่ง 
  4. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
  5. เงยขึ้นมานั่งอย่างสงบนิ่ง 
  6. สุญูดอย่างสงบนิ่ง 
วิธีการละหมาด (صفة الصلاة ) 
Description of Prayer

วิธีการละหมาดตามแนวสุนะตุ้นนบี เริ่มละหมาดด้วยการหาทิศทาง กิบลัต قبلت (สถานที่ตั้งของอัลกะอะบะห์ คือเมืองมักกะห์)
- ถ้าเป็นละหมาดฟัรดูภาคบังคับ ทุกครั้งที่จะละหมาดฟัรดู ให้อิกอมะห์ก่อน กรณีละหมาดย่อและรวมต้องอิกอมะห์ทั้งสองเวลา
- เวลาละหมาดจะใช้พรมหรือผ้าหรือกระดาษปูรองที่ที่จะละหมาดก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าสะอาด
- ยืนสงบนิ่งอยู่บนที่ที่จะใช้ทำละหมาดหรือเรียกว่ามุซ็อลลาฮิ สงบนิ่ง เท้าทั้งสองกางออกพอให้ยืนได้มั่นคงไม่โอนเอน ตามองดูอยู่ที่จุดลงก้มกราบ(สูญูด سجود Prostration) พร้อมแล้ว

1. ตักบีเราะตุลอี้หะรอม(تكبيرة الإحرام ยกมือทั้งสองข้าง แบตั้งหันเอาฝ่ามือออกไปทางกิบลัต เสมือนว่าเราจะยื่นไปจับหินดำ ยกขึ้นเสมอไหล่) พร้อมกับกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร الله اكبر อ่านด้วยน้ำเสียงลากยาว (ถ้าเป็นอิหม่ามให้อ่านออกเสียงดังฟังชัด) ถ้าละเป็นมะอะมูมหรือละหมาดคนเดียว (กล่าวด้วยเสียงกระซิบ)

ตักบีเราะตุลอี้หะรอม تكبيرة الإحرام ใช้เรียกเฉพาะตักบีรแรกครั้งเดียว หลังจากนี้เรียกตักบีรเฉยๆ

  
- ปล่อยมือลงมากอดอกโดยให้ฝ่ามือขวาทับบนหลังมือซ้าย ระดับใต้ราวนม- ถ้าละหมาดกัน 2 คน ผู้ตามยืนด้านขวาของหม่า ต่ำกว่าอย่างน้อยหนึ่งคืบ
- อ่านดุอาอ์อิฟติตะห์ (دعاء ا لإفتتاح )
الله اكر كبيرا و الحمد لله كثيرا و سبحان الله بكرة و اصيلا
อ่านว่า “อัลลอฮุ อักบัร กะบี้รอ วัลหัมดุ ลิ่ลลาฮิ กะซีรอ วะ ซุบฮานัลลอฮิ บุครอเตา วะ อะซีลา” แปลว่า อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่กว่าคำว่ายิ่งใหญ่ และการขอบคุณสรรเสริญอัลลอฮ์นั้นมีมากมาย และ มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮุยิ่งยงไปไกลกว่าพรุ่งนี้ (รายงานโดย มุสลิม, อบูอุวานะฮฺ และอบูนุอัยมฺ ใน อัคบาร อัศบะฮาน 1/210)
- กล่าว يتعوذ ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮุ ด้วยเพียงเสียงกระซิบ
 اعوذ بالله من الشيطان الرجيم
"อะอูซุ บิลลาฮิ มินัชชัยตอ นิรเราะญีม”
"ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮุให้ฉันพ้นจากชัยตอนผู้ถูกสาปแช่งด้วยเถิด”
- อ่านซูเราะห์อัลฟาติหะฮฺ
سورة الفاتحة يقرأ
ละหมาดคนเดียวให้อ่านด้วยเสียงเบาประมาณว่ากระซิบอ่าน (ถ้าเป็นอิหม่ามละหมาดร่วมกันในเวลา 1. มักริบ 2. อิชาอ์ และ 3. ฟัจรี่ อ่านด้วยเสียงดัง ฟังชัด) ให้อ่านฟาติหะห์ช้าๆ ทีละอายะต์ อย่างชัดถ้อยชัดคำ เมื่ออ่านฟาติหะห์จบแล้ว กล่าว"อามีน” (ถ้าละหมาดคนเดียว อามีนเบาๆ ถ้าละหมาดร่วมกันในเวลา 1. มักริบ 2. อิชาอ์ และ 3. ฟัจรี่ กล่าวอามีนด้วยเสียงดัง ฟังชัด)
سُوۡرَةُ الفَاتِحَة ชื่อซูเราะห์อัลฟาติหะห์
بِسۡمِ ٱللهِ ٱلرَّحۡمَـٰنِ ٱلرَّحِيمِ (١)  
1. อ่านว่า  “บิสมิลล่า ฮิรเราะมา นีรเราะ ฮีม”
1. แปลว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮุผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ

ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَـٰلَمِينَ (٢)
2. อ่านว่า “อัลฮัมดุ ลิลลาฮิ ร็อบบิล อ้าละมีน”
2. แปลว่า การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮุผัทรงเป็นเจ้าในทั้งจักรวาล

ٱلرَّحۡمَـٰنِ ٱلرَّحِيمِ (٣)
3. อ่านว่า “อัรเราะห์ มา นิรเราะฮีม”
3. แปลว่า ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ

مَـٰلِكِ يَوۡمِ ٱلدِّينِ (٤)
4. อ่านว่า “มาลิ กี้ เยา มิดดีน”
4. แปลว่า ผู้ทรงเป็นเจ้าในวันตัดสิน

إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ (٥)
5.  อ่านว่า “อี้ยากะ นะอะบุดู วะ อี้ยากะ นัสตะอีน”
5. แปลว่า อัลลเลาะห์เท่านั้นที่ฉันสักการบูชา และพระองค์เท่านั้นที่ฉันขอความช่วยเหลือ

ٱهۡدِنَا ٱلصِّرَٲطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ (٦)
6. อ่านว่า “อิ้ฮฺ ดินัสสิรอ ต็อล มุสตะกีม”
6. แปลว่า โปรดนำพาพวกเราเข้าสู่ทางที่เที่ยงตรง

صِرَٲطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ غَيۡرِ ٱلۡمَغۡضُوبِ عَلَيۡهِمۡ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ (٧)
7. อ่านว่า “สิร้อต็อลละซี นะ อันอัมตะ อ้าลัยฮิ้ม ค็อยริ้น มัคดู บิ อ้าลัยฮิ้ม วะ ลัดดอลลีน”
7. ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่ในทางของพวกที่ถูกกริ้ว และหลงผิด
آمِــيـْــــــــــــــــــــــــــــــــــــنِ

- หยุดสงบนิ่งเงียบชั่วขณะ (สักตะ سكت )
- ให้อ่านซูเราะห์อื่น หรือบางส่วนจากอัลกุรอานอีกจะอ่านยาว หรือสั้นตามแต่จะอ่าน ถ้าอ่านไม่ได้ก็ให้ผ่านเลยไปไม่ต้องอ่าน (เสร็จจากอ่านฟาติหะห์และซูเราะห์อื่นแล้ว)
- ยกมือตักบีรขึ้นเสมอไหล่หันฝ่ามืออกไปกิบลัต แล้วกล่าว ตักบีรฺتكبير ว่า (อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر)


     2. รุกูอะ ( يركع โค้งคำนับ) เราะกะอัตที่ 1
โดยวางฝ่ามือวางยันไว้บนหัวเข่า แขนตึงและหลังเหยียดตรงในลักษณะที่ศีรษะอยู่ในระนาบเดียวกับหลัง ไม่แหงนขึ้นหรือก้มลง
ขณะรุกูอะกล่าว 
سُبْحَانَ رَبِّيَ العَظِيْم
“ซุบะฮาน่ะ ร็อบบิยัล อะซีม “
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกรพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือจะกล่าว 3 ครั้งหรือมากกว่าก็ยิ่งดี

- เงยขึ้นจากรุกูอะ ยกมือขึ้นเสมอไหล่เอาฝ่ามือออก พร้อมกับกล่าวว่า
 سمع الله لمن حمده
สะมีอัลลอฮุ ลิมัน ฮัมมิดะห์ 
“ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่กล่าวสรรเสริญพระองค์เสมอ”
และ เมื่อยืนขึ้นมา ตัวตั้งตรง แล้วจึงลดมือลงแนบมือและแขนกับข้างตัวเรียกว่า เอี๊ยะติดาล
และอ่าน 
 رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ 
ร็อบบะนา วะ ละกั้ลฮัมดุ
การสรรเสริญมีไว้สำหรับท่านผู้เป็นพระเจ้า

3. กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر (ไม่ต้องยกมือ) กล่าวด้วยการลากเสียง อัลออออฮุ อักบัร 
จากยืนจนลงไปสุญูด(กราบ)
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า
ความว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น"
(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งหรือมากกว่าจะดี)

- เงยจากสุญูด ครั้งที่ 1 กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر
(ภาพ 2)ภาพด้านหลังให้เห็นเท้าทั้งสองข้างจากการเงยขึ้นมานั่งและอ่านดุอาอ์
ปลายเท้าซ้ายวางรับก้น ปลายเท้าขวายันนิ้วเท้าตั้งชันกับพื้นไว้
- อ่าน اللهُمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
อัลลอฮุม มัค ฟิรลี วัรฮัมนี วะอาฟินี วะดินี วัรซุกนี
โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน, ทรงเมตตาต่อฉัน, ทรงทำให้ฉันมีสุขภาพแข็งแรง, ทรงให้ทางนำแก่ฉัน และทรงโปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันด้วยเถิด (อ่านหนึ่งครั้งก็พอ)
- กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر
- ก้มลงลงสุญูดอีกครั้ง เป็นครั้งที่สองในเราะกะอัตที่ 1
ขณะสุญูด กล่าว  سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
กล่าวตักบีร อัลลอฮุ อักบัร จบเราะกะอัตที่ 1  แต่. . . ยังไม่สมบูรณ์ จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อ
อ่านตะชะฮู้ดและ
เซาะลาวาตนบี
และให้สลามทั้งขวาและซ้ายแล้ว เป็นอันสำเร็จสมบูรณ์

(ถ้าเป็นละหมาด สอง หรือ สาม หรือ สี่ ลุกขึ้นยืนทำเราะกะอัตที่ 2 ต่อไป ไม่นั่งตะชะฮู้ด)



นี่เป็นละหมาด 1 เราะกะอัต เช่นละหมาด "วิตีร" (ละหมาดยามดึก)
หลังจากกล่าวตักบีรแล้วนั่งตะวัรรุก
วิธีนั่งแบบตะวัรรุก คือ
1.  เอาฝ่าเท้าซ้ายหรือตาตุ่มเท้าซ้ายสอดไปใต้แข้งข้างขวา 
2.  ให้นิ้วเท้าขวายันกับพื้น ส้นเท้ายกชันขึ้น
     

อ่านดุอาอ์ "ตะชะฮู้ด" 

 คำอ่าน "ตะชะฮู้ด  تَشَهُودَ 
  (1) اَلتَّحِيَاتُ للهِ وَ الصَّلَوَاتُ وَالطَّيِبَاتُ
(اَلسَّلاَم عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ, (2
 (3) اَلسَّلاَم عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ
  (4) أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و أَشْهَدُ َأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ

คำอ่าน
1. “อัตตะฮิยาตุ ลิ่ลลาฮิ วัศเศาะละวาตุ วัฏฏ็อยยี่บาตุ
2. อัสลามุ อ้าลัยกะ อัยยุฮั่นนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮุ,
3. อัสลามุ อ้าลัยนา วะอาล่า อิบาดิลลา ฮิศศอลีฮีน
4. อัชชะดุ้ อั้นลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮุ วะอัชชะฮดุ้ อั้นนะ มุฮัมมัดดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮุ”
คำแปล
1. “การเคารพภักดี ความจำเริญ และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้นล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (เพียงผู้เดียวเท่านั้น),
2. ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนบี,
3. ขอความสันติสุขจงประสบแด่พวกเรา และแด่ปวงบ่าวที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระองค์อัลลอฮฺด้วยเถิด,


4. ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีการเคารพภักดีใด นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่าแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์”


ขณะเริ่มนั่งตะชะฮู้ดนั้นให้แยกนิ้วชี้มือขวา แยกออกมาห้อยไว้ก่อน นอกนั้นกำไว้
เวลาอ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดถึง "อัชฮะ ดุ้ อั้น ลาอิ้ลา ฮะ อิ้ลลัลลอฮุ ฯ . . ."
 . . .أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و
ให้ยกนิ้วชี้มือขวาที่แยกจากการกำนั้น ชี้ไปข้างหน้า
พออ่านจบชะฮะดะห์ทั้งสองจบแล้ว จะปล่อยนิ้วชี้ลงก็ได้

อ่านตะชะฮู้ดแล้วอ่านเซาะลาวาตนบีติดต่อกัน
 "เซาะลาวาตนบี صَلَاوَاتُ الْنَبِيِ "
اللهم صل على محمد وعلى آل محمد
كما صليت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد
كما باركت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

“อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อ้าลา มุฮัมหมัด วะ อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา ซ็อลลัยตะ อาล่า อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลิ อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด

อัลลอฮุมม่า บาริก อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา บาร็อกตะ อ้าลา อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลี อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด”

ความหมาย
"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตา (สดุดี) แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของท่าน(นบี) มุหัมมัด เสมือนที่พระองค์ทรงเมตตา แก่วงศ์วานของท่าน(นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของท่าน(นบี)อิมรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง”

“โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของ(นบี)มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แก่(นบี)อิบรอฮีม และวงศ์วานของ(นบี)อิบรอฮีม , แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 3119 มุสลิม หะดิษเลขที่ 614 และนาซาอีย์ หะดิษเลขที่ 1270 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดและเซาละวาตนบีทั้งสอง จบแล้วก็ให้สลาม التسليم
หันหน้าไปทางขวาถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
หันหน้าไปทางซ้ายถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”

จบกระบวนการละหมาด 1 เราะกะอัตอย่างสมบูรณ์



กล่าวตักบีร(ไม่ต้องยกมือ)จากจบเราะกะอัตแรกข้างบนแล้ว
ลุกขึ้นยืนทำเราะกะอัตที่ 2 ต่อไป
     4.  อ่านอัลฟาติฮะห์และซุเราะห์อื่นอีกตามชอบ อย่างน้อยสามอายะต์(สามวรรค)
ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ยกมือเสมอไหล่
     5.  ก้มรุกูอะ เราะกะอัตที่ 2
ขณะรุกูอะกล่าว 
سُبْحَانَ رَبِّيَ العَظِيْم
“ซุบะฮาน่ะ ร็อบบิยัล อะซีม “
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกรพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือจะกล่าว 3 ครั้งก็ยิ่งดี
- เงยขึ้นจากรุกูอะ ยกมือขึ้นเสมอไหล่เอาฝ่ามือออก พร้อมกับกล่าวว่า
“สะมีอัลลอฮุ ลิมัน ฮัมมิดะห์ "
 سمع الله لمن حمده
“ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่กล่าวสรรเสริญพระองค์เสมอ”
และ เมื่อยืนขึ้นมา ตัวตั้งตรง แล้วจึงลดมือลงแนบมือและแขนกับข้างตัวเรียกว่า เอี๊ยะติดาล


และอ่าน “ร็อบบะนา วะละกั้ลฮัมดุ (หลังจากคำสะมีอัลลอฮุ ลิมันฮัมมิดะห์)
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ การสรรเสริญมีไว้สำหรับท่านผู้เป็นพระเจ้า
6. ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ก้มลงสุญูดครั้งที่หนึ่ง เราะกะอัตที่ 2
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”

- เงยขึ้นมาญุลุส  อ่าน
 اللهُمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
“อัลลอฮุม มัค ฟิรลี วัรฮัมนี วะอาฟินี วะดินี วัรซุกนี
คำแปล “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน, ทรงเมตตาต่อฉัน, ทรงทำให้ฉันมีสุขภาพแข็งแรง, ทรงให้ทางนำแก่ฉัน และทรงโปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันด้วยเถิด” (อ่านหนึ่งครั้งก็พอ)
- กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر
- ก้มลงลงสุญูดอีกครั้ง เป็นครั้งที่สอง เราะกะอัตที่ 2
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
กล่าว ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร


ถ้าเป็นละหมาด 2 เราะกะอัต

ให้นั่งตะวัรรุก
วิธีนั่งแบบตะวัรรุก คือ
1.  เอาฝ่าเท้าซ้ายหรือตาตุ่มเท้าซ้ายสอดไปใต้แข้งข้างขวา 
2.  ให้นิ้วเท้าขวายันกับพื้น ส้นเท้ายกชันขึ้น
     

อ่านดุอาอ์ "ตะชะฮู้ด" 

 คำอ่าน "ตะชะฮู้ด  تَشَهُودَ 
  (1) اَلتَّحِيَاتُ للهِ وَ الصَّلَوَاتُ وَالطَّيِبَاتُ
(اَلسَّلاَم عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ, (2
 (3) اَلسَّلاَم عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ
  (4) أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و أَشْهَدُ َأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ

คำอ่าน
1. “อัตตะฮิยาตุ ลิ่ลลาฮิ วัศเศาะละวาตุ วัฏฏ็อยยี่บาตุ
2. อัสลามุ อ้าลัยกะ อัยยุฮั่นนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮุ,
3. อัสลามุ อ้าลัยนา วะอาล่า อิบาดิลลา ฮิศศอลีฮีน
4. อัชชะดุ้ อั้นลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮุ วะอัชชะฮดุ้ อั้นนะ มุฮัมมัดดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮุ”
คำแปล
1. “การเคารพภักดี ความจำเริญ และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้นล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (เพียงผู้เดียวเท่านั้น),
2. ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนบี,
3. ขอความสันติสุขจงประสบแด่พวกเรา และแด่ปวงบ่าวที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระองค์อัลลอฮฺด้วยเถิด,


4. ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีการเคารพภักดีใด นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่าแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์”


ขณะเริ่มนั่งตะชะฮู้ดนั้นให้แยกนิ้วชี้มือขวา แยกออกมาห้อยไว้ก่อน นอกนั้นกำไว้
เวลาอ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดถึง "อัชฮะ ดุ้ อั้น ลาอิ้ลา ฮะ อิ้ลลัลลอฮุ ฯ . . ."
 . . .أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و
ให้ยกนิ้วชี้มือขวาที่แยกจากการกำนั้น ชี้ไปข้างหน้า
พออ่านจบชะฮะดะห์ทั้งสองจบแล้ว จะปล่อยนิ้วชี้ลงก็ได้

อ่านตะชะฮู้ดแล้วอ่านเซาะลาวาตนบีติดต่อกัน
 "เซาะลาวาตนบี صَلَاوَاتُ الْنَبِيِ "
اللهم صل على محمد وعلى آل محمد
كما صليت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد
كما باركت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

“อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อ้าลา มุฮัมหมัด วะ อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา ซ็อลลัยตะ อาล่า อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลิ อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด

อัลลอฮุมม่า บาริก อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา บาร็อกตะ อ้าลา อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลี อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด”

ความหมาย
"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตา (สดุดี) แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของท่าน(นบี) มุหัมมัด เสมือนที่พระองค์ทรงเมตตา แก่วงศ์วานของท่าน(นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของท่าน(นบี)อิมรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง”

“โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของ(นบี)มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แก่(นบี)อิบรอฮีม และวงศ์วานของ(นบี)อิบรอฮีม , แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 3119 มุสลิม หะดิษเลขที่ 614 และนาซาอีย์ หะดิษเลขที่ 1270 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดและเซาละวาตนบีทั้งสอง จบแล้วก็ให้สลาม التسليم
หันหน้าไปทางขวาถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
หันหน้าไปทางซ้ายถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”

จบกระบวนการละหมาด 2 เราะกะอัตอย่างสมบูรณ์



(ตักบีรมาจากเราะกะอัตที่ 2 แล้ว)

ถ้าเป็นละหมาด 3 เราะกะอัต

ให้นั่งตะชะฮู้ดแรกแบบธรรมดา คือ
1.  เท้าซ้ายวางรองก้น
2.  เท้าขวาทำเหมือนเดิม คือ ใช้ปลายนิ้วเท้าขวานั้นยันพื้นไว้และส้นเท้ายกชันขึ้น
อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ด (อัตตะฮี้ยาตุ ลิลลาฮิ วะเซาะลาวาต วะ ฏอยยิบาตุ ฯ)

 คำอ่าน "ตะชะฮู้ด  تَشَهُودَ 
  (1) اَلتَّحِيَاتُ للهِ وَ الصَّلَوَاتُ وَالطَّيِبَاتُ
(اَلسَّلاَم عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ, (2
 (3) اَلسَّلاَم عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ
  (4) أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و أَشْهَدُ َأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ

คำอ่าน
1. “อัตตะฮิยาตุ ลิ่ลลาฮิ วัศเศาะละวาตุ วัฏฏ็อยยี่บาตุ
2. อัสลามุ อ้าลัยกะ อัยยุฮั่นนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮุ,
3. อัสลามุ อ้าลัยนา วะอาล่า อิบาดิลลา ฮิศศอลีฮีน
4. อัชชะดุ้ อั้นลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮุ วะอัชชะฮดุ้ อั้นนะ มุฮัมมัดดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮุ”
คำแปล
1. “การเคารพภักดี ความจำเริญ และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้นล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (เพียงผู้เดียวเท่านั้น),
2. ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนบี,
3. ขอความสันติสุขจงประสบแด่พวกเรา และแด่ปวงบ่าวที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระองค์อัลลอฮฺด้วยเถิด,


4. ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีการเคารพภักดีใด นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่าแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์”

นิ้วชี้มือขวาแยกออกมาห้อยไว้ก่อน นอกนั้นกำไว้
เวลาอ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดถึง "อัชฮะ ดุ้ อั้น ลาอิ้ลา ฮะ อิ้ลลัลลอฮุ ฯ"
ให้ยกนิ้วชี้มือขวาที่แยกจากการกำนั้น ขี้ไปข้างหน้า
พออ่านชะฮะดะห์อย่างเดียวจบแล้ว จะปล่อยนิ้วชี้ลงก็ได้

อ่านตะชะฮู้ด (ตะฮิยาตุ ลิลลาฮิฯอย่างเดียว) จบแล้ว
     7.  กล่าวตักบีร อัลลอฮุ อักบัร พร้อมกับยกมือเสมอไหล่ ลุกขึ้นยืนทำเราะกะอัตที่ 3 ต่อไป
เอามือลงมากอดอก
อ่านอัลฟาติฮะห์อย่างเดียว

ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ยกมือเสมอไหล่
     8.  ก้มรุกูอะ เราะกะอัตที่ 3
ขณะรุกูอะกล่าว 
سُبْحَانَ رَبِّيَ العَظِيْم
“ซุบะฮาน่ะ ร็อบบิยัล อะซีม “
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกรพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือจะกล่าว 3 ครั้งก็ยิ่งดี
- เงยขึ้นจากรุกูอะ ยกมือขึ้นเสมอไหล่เอาฝ่ามือออก พร้อมกับกล่าวว่า
“สะมีอัลลอฮุ ลิมัน ฮัมมิดะห์ "
 سمع الله لمن حمده
“ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่กล่าวสรรเสริญพระองค์เสมอ”
และ เมื่อยืนขึ้นมา ตัวตั้งตรง แล้วจึงลดมือลงแนบมือและแขนกับข้างตัวเรียกว่า เอี๊ยะติดาล

และอ่าน “ร็อบบะนา วะละกั้ลฮัมดุ (หลังจากคำสะมีอัลลอฮุ ลิมันฮัมมิดะห์)
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ การสรรเสริญมีไว้สำหรับท่านผู้เป็นพระเจ้า
     9. ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ก้มลงสุญูดครั้งที่หนึ่ง เราะกะอัตที่ 3
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
- เงยขึ้นมาญุลุส  อ่าน
 اللهُمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
“อัลลอฮุม มัค ฟิรลี วัรฮัมนี วะอาฟินี วะดินี วัรซุกนี
คำแปล “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน, ทรงเมตตาต่อฉัน, ทรงทำให้ฉันมีสุขภาพแข็งแรง, ทรงให้ทางนำแก่ฉัน และทรงโปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันด้วยเถิด” (อ่านหนึ่งครั้งก็พอ)
- กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر
- ก้มลงลงสุญูดอีกครั้ง เป็นครั้งที่สอง เราะกะอัตที่ 3
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
กล่าว ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร
(นี่เป็นละหมาดแบบ 3 เราะกะอัต และทำมาถึงช่วงตะชะฮู้ดสุดท้ายแล้ว)
ให้นั่งตะวัรรุก เหมือนข้างบน
วิธีนั่งแบบตะวัรรุก คือ
1.  เอาฝ่าเท้าซ้ายหรือตาตุ่มเท้าซ้ายสอดไปใต้แข้งข้างขวา 
2.  ให้นิ้วเท้าขวายันกับพื้น ส้นเท้ายกชันขึ้น
     

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ด (อัตตะฮี้ยาตุ ลิลลาฮิ วะเซาะลาวาต วะ ฏอยยิบาตุ ฯ)

 คำอ่าน "ตะชะฮู้ด  تَشَهُودَ 
  (1) اَلتَّحِيَاتُ للهِ وَ الصَّلَوَاتُ وَالطَّيِبَاتُ
(اَلسَّلاَم عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ, (2
 (3) اَلسَّلاَم عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ
  (4) أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و أَشْهَدُ َأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ

คำอ่าน
1. “อัตตะฮิยาตุ ลิ่ลลาฮิ วัศเศาะละวาตุ วัฏฏ็อยยี่บาตุ
2. อัสลามุ อ้าลัยกะ อัยยุฮั่นนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮุ,
3. อัสลามุ อ้าลัยนา วะอาล่า อิบาดิลลา ฮิศศอลีฮีน
4. อัชชะดุ้ อั้นลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮุ วะอัชชะฮดุ้ อั้นนะ มุฮัมมัดดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮุ”
คำแปล
1. “การเคารพภักดี ความจำเริญ และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้นล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (เพียงผู้เดียวเท่านั้น),
2. ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนบี,
3. ขอความสันติสุขจงประสบแด่พวกเรา และแด่ปวงบ่าวที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระองค์อัลลอฮฺด้วยเถิด,


4. ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีการเคารพภักดีใด นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่าแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์”

นิ้วชี้มือขวาแยกออกมาห้อยไว้ก่อน นอกนั้นกำไว้
เวลาอ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดถึง "อัชฮะ ดุ้ อั้น ลาอิ้ลา ฮะ อิ้ลลัลลอฮุ ฯ"
ให้ยกนิ้วชี้มือขวาที่แยกจากการกำนั้น ขี้ไปข้างหน้า
พออ่านชะฮะดะห์อย่างเดียวจบแล้ว จะปล่อยนิ้วชี้ลงก็ได้

ถ้าเป็นละหมาดแบบ 4 เราะกะอัต
ให้ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ไม่ต้องยกมือ ลุกขึ้นยืนทำเราะกะอัตที่ 4 ต่อไป

ถ้าเป็นแบบ 3 เราะกะอัต
กล่าวตักบีรแล้วนั่งตะวัรรุกเลย จากการสุญูดครั้งที่ 2 เราะกะอัตที่ 3
อ่านตะชะฮู้ดแล้วอ่านเซาะลาวาตนบีติดต่อกัน
 "เซาะลาวาตนบี صَلَاوَاتُ الْنَبِيِ "
اللهم صل على محمد وعلى آل محمد
كما صليت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد
كما باركت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

“อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อ้าลา มุฮัมหมัด วะ อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา ซ็อลลัยตะ อาล่า อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลิ อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด

อัลลอฮุมม่า บาริก อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา บาร็อกตะ อ้าลา อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลี อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด”

ความหมาย
"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตา (สดุดี) แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของท่าน(นบี) มุหัมมัด เสมือนที่พระองค์ทรงเมตตา แก่วงศ์วานของท่าน(นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของท่าน(นบี)อิมรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง”

“โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของ(นบี)มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แก่(นบี)อิบรอฮีม และวงศ์วานของ(นบี)อิบรอฮีม , แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 3119 มุสลิม หะดิษเลขที่ 614 และนาซาอีย์ หะดิษเลขที่ 1270 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดและเซาละวาตนบีทั้งสอง จบแล้วก็ให้สลาม التسليم
หันหน้าไปทางขวาถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
หันหน้าไปทางซ้ายถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
จบกระบวนการละหมาด 3 เราะกะอัตอย่างสมบูรณ์



ถ้าเป็นละหมาด 4 เราะกะอัต


     10.  (ตักบีรไม่ต้องยกมือ) เอามือมากอดอก
อ่านอัลฟาติฮะห์อย่างเดียว

ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ยกมือเสมอไหล่ 
     11.  ก้มรุกูอะ เราะกะอัตที่ 4
ขณะรุกูอะกล่าว 
سُبْحَانَ رَبِّيَ العَظِيْم
“ซุบะฮาน่ะ ร็อบบิยัล อะซีม “
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกรพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือจะกล่าว 3 ครั้งก็ยิ่งดี
- เงยขึ้นจากรุกูอะ ยกมือขึ้นเสมอไหล่เอาฝ่ามือออก พร้อมกับกล่าวว่า
“สะมีอัลลอฮุ ลิมัน ฮัมมิดะห์ "
 سمع الله لمن حمده
“ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่กล่าวสรรเสริญพระองค์เสมอ”
และ เมื่อยืนขึ้นมา ตัวตั้งตรง แล้วจึงลดมือลงแนบมือและแขนกับข้างตัวเรียกว่า เอี๊ยะติดาล


และอ่าน “ร็อบบะนา วะละกั้ลฮัมดุ (หลังจากคำสะมีอัลลอฮุ ลิมันฮัมมิดะห์)
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ การสรรเสริญมีไว้สำหรับท่านผู้เป็นพระเจ้า
    12. ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร ก้มลงสุญูดครั้งที่หนึ่ง เราะกะอัตที่ 3
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”

- เงยขึ้นมาญุลุส  อ่าน
 اللهُمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
“อัลลอฮุม มัค ฟิรลี วัรฮัมนี วะอาฟินี วะดินี วัรซุกนี
คำแปล “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน, ทรงเมตตาต่อฉัน, ทรงทำให้ฉันมีสุขภาพแข็งแรง, ทรงให้ทางนำแก่ฉัน และทรงโปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันด้วยเถิด” (อ่านหนึ่งครั้งก็พอ)
- กล่าวตักบีร تكبير อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر
- ก้มลงลงสุญูดอีกครั้ง เป็นครั้งที่สอง เราะกะอัตที่ 3
ขณะสุญูด กล่าว
سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى
“ซุบะฮา นะ ร็อบบิยั้ล อ้าล่า”(อ่านอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่อ่านสามครั้งจะดีมากกว่า)ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
กล่าว ตักบีร อัลลอฮุ อักบัร
(นี่เป็นละหมาดแบบ 4 เราะกะอัต และทำมาถึงช่วงตะชะฮู้ดสุดท้ายแล้ว)
ให้นั่งตะวัรรุก เหมือนข้างบน
วิธีนั่งแบบตะวัรรุก คือ
1.  เอาฝ่าเท้าซ้ายหรือตาตุ่มเท้าซ้ายสอดไปใต้แข้งข้างขวา 
2.  ให้นิ้วเท้าขวายันกับพื้น ส้นเท้ายกชันขึ้น
     

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ด (อัตตะฮี้ยาตุ ลิลลาฮิ วะเซาะลาวาต วะ ฏอยยิบาตุ ฯ)

 คำอ่าน "ตะชะฮู้ด  تَشَهُودَ 
  (1) اَلتَّحِيَاتُ للهِ وَ الصَّلَوَاتُ وَالطَّيِبَاتُ
(اَلسَّلاَم عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ, (2
 (3) اَلسَّلاَم عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ
  (4) أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ و أَشْهَدُ َأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ

คำอ่าน
1. “อัตตะฮิยาตุ ลิ่ลลาฮิ วัศเศาะละวาตุ วัฏฏ็อยยี่บาตุ
2. อัสลามุ อ้าลัยกะ อัยยุฮั่นนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮุ,
3. อัสลามุ อ้าลัยนา วะอาล่า อิบาดิลลา ฮิศศอลีฮีน
4. อัชชะดุ้ อั้นลา อิลาฮะ อิ้ลลัลลอฮุ วะอัชชะฮดุ้ อั้นนะ มุฮัมมัดดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮุ”
คำแปล
1. “การเคารพภักดี ความจำเริญ และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้นล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (เพียงผู้เดียวเท่านั้น),
2. ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนบี,
3. ขอความสันติสุขจงประสบแด่พวกเรา และแด่ปวงบ่าวที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระองค์อัลลอฮฺด้วยเถิด,


4. ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีการเคารพภักดีใด นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่าแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์”

นิ้วชี้มือขวาแยกออกมาห้อยไว้ก่อน นอกนั้นกำไว้
เวลาอ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดถึง "อัชฮะ ดุ้ อั้น ลาอิ้ลา ฮะ อิ้ลลัลลอฮุ ฯ"
ให้ยกนิ้วชี้มือขวาที่แยกจากการกำนั้น ขี้ไปข้างหน้า
พออ่านชะฮะดะห์อย่างเดียวจบแล้ว จะปล่อยนิ้วชี้ลงก็ได้
อ่านตะชะฮู้ดแล้วอ่านเซาะลาวาตนบีติดต่อกัน
 "เซาะลาวาตนบี صَلَاوَاتُ الْنَبِيِ "
اللهم صل على محمد وعلى آل محمد
كما صليت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد
كما باركت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم
إنك حميد مجيد

“อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อ้าลา มุฮัมหมัด วะ อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา ซ็อลลัยตะ อาล่า อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลิ อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด

อัลลอฮุมม่า บาริก อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด
กามา บาร็อกตะ อ้าลา อิบรอฮีม วะ อ้าลา อาลี อิบรอฮีม
อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด”

ความหมาย
"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตา (สดุดี) แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของท่าน(นบี) มุหัมมัด เสมือนที่พระองค์ทรงเมตตา แก่วงศ์วานของท่าน(นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของท่าน(นบี)อิมรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง”

“โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แด่(นบี)มุหัมมัด และวงศ์วานของ(นบี)มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แก่(นบี)อิบรอฮีม และวงศ์วานของ(นบี)อิบรอฮีม , แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 3119 มุสลิม หะดิษเลขที่ 614 และนาซาอีย์ หะดิษเลขที่ 1270 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

อ่านดุอาอ์ตะชะฮู้ดและเซาละวาตนบีทั้งสอง จบแล้วก็ให้สลาม التسليم
หันหน้าไปทางขวาถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
หันหน้าไปทางซ้ายถึงไหล่ กล่าว “สลาม” 
  السلام عليكم ورحمة الله 
อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์มะตุ้ลลอฮิ 
“ขอความสันติสุขมีแด่พวกท่านและขอให้อัลลอฮุเมตตาปรานี”
จบกระบวนการละหมาด 4 เราะกะอัตอย่างสมบูรณ์



ละหมาดและให้สลามจบให้อ่านดุอาอ์ต่างๆ
ขณะยังนั่งอยู่นี้อ่าน อิสติกฟาร “อัสตัก ฟิรุลลอฮุ่ล อ้าซีม” 
استغفرالله العظيم  อ่านสามครั้ง
และอ่าน

اللَّهُـمَّ أَنْتَ السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَـبَارَكْتَ يَاذَا الجَلالِ وَالإكْرَام
คำอ่าน อัลลอฮุมมะอันตัสสะลาม วะมินกัสสลาม ตะบาร็อกตะ ยาซัลญะลาลิ วัลอิกรอม
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ พระองค์คืออัส-สลาม(ผู้เปี่ยมด้วยสันติ) จากพระองค์นั้นคือที่มาของสันติ ประเสริฐยิ่งเถิด โอ้ผู้เปี่ยมด้วยความยิ่งใหญ่และบุญคุณอันล้นเหลือ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 592)

     
การนับซิกีรด้วยนิ้วมือทั้งสองข้าง
- เริ่มจากใช้นิ้วชี้มือขวาจรดไปที่นิ้วโป้งข้อบนนับ1
- เลื่อนลงมาข้อล่างนับ2
- เลื่อนขึ้นข้อบนอีกทีนับ3
- ใช้นิ้วโป้งมือขวามจรดไปที่ข้อบนนิ้วชี้นับ4
- เลื่อนลงมาข้อกลางนับ5
- เลื่อนลงมาข้อล่างนับ6
- เลื่อนนิ้วโป้งไปข้อล่างนิ้วกลางนับ7 นับไปเรื่อยๆ
นับข้อนิ้วไปเรื่อยๆ ไปจนหมดนิ้วโป้งแล้วย้อนกลับไปนับนิ้วชี้มือซ้ายลงมาอีก3ข้อจะได้ครบ 33จุด
อ่าน และนับตามจุดต่างๆ ที่แนะนำ
ซุบะฮานั้ลลอฮ์ (ตัสบี้หะ) 33 ครั้ง التسبيح
อัลฮัมดุ ลิลลาฮิ (ตะหฺมี้ด) 33 ครั้ง التحميد
อัลลอฮุ อักบัร (ตักบีร) 33 ครั้ง التكبير
และ 
‏لا إله إلا الله وحده لا شريك له ، له الملك وله الحمد وهو على كل شيء قدير‏
“ความหมาย “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮฺองค์เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆ เสมอพระองค์ เป็นสิทธิของพระองค์ซึ่งการครอบครองและการสรรเสริญสดุดี และพระองค์ทรงยิ่งด้วยเดชานุภาพเหนือทุกๆ สิ่ง”

การละหมาดร่วมกัน(ละหมาดญะมาอะห์)
الصلاة الجماعة gather for prayer 
การละหมาดร่วมกัน หมายถึง การรวมกลุ่มเพื่อทำการละหมาด ต้องมีผู้ละหมาดมากกว่าหนึ่งคน คนที่เป็นคนนำละหมาดจะได้ชื่อว่าอิหม่าม (امام ) อิหม่ามต้องอ่านเสียงดังฟังชัด ผู้ทำละหมาดตามอิหม่าม เรียกว่า มะอฺมูม (معموم) การละหมาดร่วมกันได้ภาคผลมากถึง 27 เท่าของการยืนละหมาดคนเดียว
ถ้ามีผู้ร่วมละหมาดด้วยกันทั้งหมด 2 คน ให้ผู้ตาม (มะอ์มูม معموم ) ยืนชิดทางด้านขวาอิหม่าม แต่ให้ยืนต่ำลงมาอย่างน้อยหนึ่งคืบ ไม่เกินหนึ่งก้าว

เป็นอิหม่ามนำละหมาด อ่านดัง อ่านค่อยดังนี้
  1. มักริบ Maqrib مغرب อ่านด้วยเสียงดังฟังชัด
  2. อิชาอ์ Isha عشاء อ่านด้วยเสียงดังฟังชัด
  3. ซุบฮิ Fajri صبح อ่านด้วยเสียงดังฟังชัด
  4. * ดุห์รี่ Dhuhri ظهر อ่านด้วยเสียงเบาเท่ากระซิบ
  5. * อัสรี่ Asri عصر อ่านด้วยเสียงเบาเท่ากระซิบ
เวลาเปลี่ยนอิริยะบถ(ตักบีร) อิหม่ามอ่านดังทุกเวลา ทุกอิริยาบถ
อัลลอฮุ อักบัร ตักบีเราะตุ้ล อี้หะรอม
อัลลอฮุ อักบัร ก้มรุกูอะ
ซะมีอัลลอฮุ ลิมันฮัมมิดะห์ ร็อบบะนา วะ ละกัลฮัมดุ
อัลลอฮุ อักบัร ก้มลงสุญูด
อัลลอฮุ อักบัร เงยขึ้นจากสุญูด
อัลลอฮุ อักบัร ก้มลงสุญูด
อัลลอฮุ อักบัร (ทำเราะกะอัตที่ 2 ต่อ หรือ จบการละหมาดแบบ 1 เราะกะอัต คือ "วิตีร"
ส่วนมะอฺมูม (ผู้ตาม) ให้อ่านค่อยและตักบีรค่อย การละหมาดอยู่คนเดียวก็อ่านค่อยเหมือนเดิม
มะอฺมูมหรือละหมาดคนเดียว วาญิบ(จำเป็น)ต้องอ่านฟาติหะห์ทุกเราะกะอัต

ผู้หญิงละหมาด เมื่อผู้หญิงละหมาดไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดูหรือละหมาดสุนัตก็ตาม ในทุกละหมาดของผู้หญิง ไม่ว่าจะละหมาดร่วมกันเป็นญะมาอะห์  หรือละหมาดเดี่ยว จะไม่ตักบีรและไม่อ่านด้วยเสียงดัง ความดังนั้นเปรียบได้ว่าขนาดเท่าพูดเบาๆ หรือกระซิบพอได้ยิน และไม่ยืนเข้าแถวแบบผู้ชาย ที่อิหม่ามจะยืนเดี่ยวข้างหน้า สำหรับผู้หญิงในกรณีญะมาอะห์ให้ยืนเข้าแถวในระดับเดียวกัน ให้ผู้ที่จะนำละหมาดตักบีรและอ่านฟาติฮะห์ด้วยเสียงเบา อิหม่ามยืนอยู่ซ้าย มะอฺมูม(ผู้ตาม)ให้ยืนด้านขวา

การละหมาดขณะสวมใส่รองเท้า
1. มีสุนัตให้มุสลิมละหมาดด้วยการสวมใส่รองเท้าหรือคุฟฺ (รองเท้าหนังหุ้มถึงข้อเท้า) ได้ หากเป็นรองเท้าหรือคุฟฺที่สะอาดปราศจากนะญิส และให้ละหมาดโดยไม่สวมใส่ร้องเท้าในบางเวลา แต่หากผู้กลัวว่าใส่ร้องเท้าแล้วจะทำให้เปรอะเปื้อนมัสญิดหรือสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ละหมาดอื่น ก็ให้ถอดร้องเท้าละหมาด
2. เมื่อผู้ละหมาดถอดคุฟฺหรือรองเท้าทั้งสองของเขาแล้ว ไม่อนุญาตให้ตั้งรองเท้าด้านขวา แต่ให้ตั้งไว้ระหว่างขาทั้งสองหรือไม่ก็ตั้งไว้ด้านซ้ายหากไม่มีคนละหมาด และมีสุนัตเวลาสวมใส่รองเท้าให้ใส่ทางขวาก่อน และเวลาถอดให้ถอดทางซ้ายก่อน และไม่อนุญาตให้ใช้รองเท้าข้างเดียวเวลาเดิน

มารยาทในการไปมัสญิด
สุนัตให้มุสลิมออกไปมัสญิดด้วยความสงบเสงี่ยม ไม่รีบเร่ง
มีรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า
«إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ فَلا تَأْتُوهَا وَأَنْتُـمْ تَسْعَونَ، وَائْتُوهَا وَعَلَيْكُمُ السَّكِينَةَ، فَمَا أَدْرَكْتُـمْ فَصَلُّوا، وَمَا فَاتَـكُمْ فَأَتِـمُّوا، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا كَانَ يَـعْمِدُ إلَى الصَّلاةِ فَهُوَ فِي صَلاةٍ»
ความว่า “เมื่อเตรียมออกไปละหมาดท่านอย่าออกไปด้วยความรีบเร่ง แต่จงออกไปด้วยความสงบเสงี่ยม ดังนั้น หากท่านทันได้ละหมาดพร้อมอิหม่ามกี่ร็อกอะฮฺก็จงละหมาด ส่วนที่ท่านไม่ทันนั้นก็จงทำให้ครบสมบูรณ์ เพราะคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านนั้น เมื่อตั้งใจหรือมุ่งมั่นจะไปละหมาดแล้ว ก็ถือว่าเขากำลังละหมาดอยู่” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 908 และมุสลิม เลขที่: 620 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
1. สุนัตให้มุสลิมเมื่อเขาออกไปมัสญิดให้ก้าวเท้าขวาก่อนเข้ามัสญิดพร้อมกับบกล่าวว่า
«أَعُوذُ بِالله العَظِيمِ، وَبِوَجْهِهِ الكَرِيمِ، وَسُلْطَانِـهِ القَدِيمِ، مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ»
คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิล อะซีม วะ บิวัจญ์ฮิฮิล กะรีม วะ สุลฏอนิฮิล เกาะดีม มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม
ความหมาย “ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยพระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมแห่งพระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 466)
หรือกล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ افْتَـحْ لِي أَبْوَابَ رَحْـمَتِكَ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมัฟตะหฺ ลี อับวาบะ เราะห์มะติก
ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงเปิดประตูแห่งความเมตตาของพระองค์ให้กับข้าพระองค์ด้วยเถิด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 713)
2. เมื่อออกจากมัสญิดสุนัตให้ก้าวเท้าซ้ายพร้อมกล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ มิน ฟัฎลิก
ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอจากพระองค์ ซึ่งความประเสริฐแห่งพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 713)

เมื่อเข้ามัสญิดควรทำสิ่งใด
เมื่อเข้าไปในมัสญิดมุสลิมแล้วควรให้สลามแก่คนที่อยู่ในมัสญิดก่อนหน้านั้น แล้วละหมาดตะหัยยะตุลมัสญิดสองเราะกะอัต และควรใช้เวลาในมัสญิดด้วยการซิกรฺระลึกถึงอัลลอฮฺ อ่านอัลกุรอาน และละหมาดสุนัตจนกว่าจะอิกอมะฮฺ ให้พยายามจนสุดความสามารถเพื่อที่จะอยู่ในแถวแรกด้านขวาของอิมาม

นอนหลับในมัสญิด
การนอนหลับในมัสญิดเป็นบางครั้งบางคราวของผู้เดินทางหรือผู้ยากไร้ไม่มีที่พักถือว่าเป็นที่อนุญาต แต่หากจะเอามัสญิดเป็นที่พักถาวรนั้นถือว่าเป็นที่ต้องห้ามนอกจากจะเป็นผู้ที่อิอฺติกาฟฺอยู่หรือผู้ที่จำเป็นต้องพักผ่อน เป็นต้น

การให้สลามแก่ผู้ที่กำลังละหมาดอยู่
สุนัตให้ผู้ที่ผ่านคนที่กำลังละหมาดอยู่ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังละหมาดอยู่ และสุนัตผู้ละหมาดรับสลามโดยการให้สัญญานด้วยนิ้ว มือ หรือศรีษะของเขาไม่อนุญาตให้ใช้คำพูด
มีรายงานจากท่าน ศุฮัยบฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า
مررت برسول الله صلى الله عليه وسلم وهو يُصَلِّي، فَسَلَّمْتُ عَلَيْـهِ، فَرَدَّ إلَيَّ إشَارَةً
ความว่า“ฉันได้ผ่านท่านเราะสูลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ในขณะที่ท่านกำลังละหมาดอยู่ แล้วฉันได้ให้สลามแก่ท่าน แล้วท่านได้ตอบรับสลามฉันด้วยการให้สัญญานบางอย่าง” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 925 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 367)

ห้ามจองที่ในมัสญิด
สุนัตให้ผู้ที่จะไปนั่งที่ใดที่หนึ่งในมัสญิดนั้นไปด้วยตัวเขาเอง ซึ่งหากเขาไปตั้งเสื่อ ผ้าปูหรืออื่นๆ ก่อนเพื่อจองที่แล้วตัวเองไปทีหลังนั้น ถือว่าเขาทำผิดเจตนารมณ์ของชะรีอะฮฺสองแง่ดังนี้

ละหมาดมัสบู๊ก الصلاة المسبوك Prayer cast
คือการมาร่วมละหมาดญะมาอะห์ไม่ทันในรุกูอะ (โค้งคำนับ) ของเราะกะอัตนั้นๆ เมื่ออิหม่ามละหมาดเสร็จให้สลาม เรายังไม่ต้องให้สลามตามอิหม่าม แต่ต้องลุกขึ้นละหมาดเราะกะอัตนั้นเสียก่อน จึงจะนั่งตะชะฮู้ดครั้งสุดท้ายได้ การมาทันเราะกะอัตนั้นหรือไม่นั้น เอาการก้มรุกูอะเป็นเกณฑ์ ถ้ามะอะมูมมาได้ทำรุกูอะ ก็ถือมาทันเราะกะอัตนั้น เราขาดไปกี่รุกูอะก็ทำให้ครบตามจำนวนในเวลานั้นๆ

ละหมาดย่อ
قصر الصلاة Shorten Prayer หรือละหมาดผู้เดินทาง
(صلاة المسافر) สามารถละหมาดย่อได้ตราบใดที่ผู้นั้นยังเป็นผู้เดินทาง ถ้าหากเขาลงพักเพื่อทำธุระที่รอการเสร็จสิ้นธุระนั้น เขาก็สามารถละหมาดย่อได้เช่นกัน เพราะถือว่าเขาเป็นผู้เดินทาง ถึงแม้ว่าเขาจะลงพักเป็นเวลาหลายปีก็ตาม และอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ.) เลือกความเห็นที่ว่า การลงพักไม่ทำให้ออกจากฮุก่มของการเดินทางไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม (หมายถึงการลงพัก) ตราบใดที่ผู้นั้นไม่ได้ลงหลักปักฐานในสถานที่ที่เขาลงพักอยู่นั้น และซัยยิด ซาบิก ก็มีความเห็นตามนี้ด้วย (ดู ฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1 หน้า 268,269) 
ละหมาดที่มี 4 เราะกะอัตเท่านั้นที่ย่อได้ให้เหลือ 2 เราะกะอัต
  1. ละหมาดดุฮรี่ الظهر (เที่ยง)
  2. ละหมาดอัสรี่ العصر (บ่าย)
  3. ละหมาดอีชาอ์ العشاء (ค่ำคืน)
อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการละหมาดฟัรดู (ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการทำศึก) ไว้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. ละหมาดของคนปกติ
2. ละหมาดของคนมีอุปสรรค์
3. ละหมาดของคนเดินทาง
ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. การละหมาดของคนที่อยู่ปกติก็ละหมาดไปตามเวลาและข้อกำหนดของแต่ละช่วงเวลาของมัน และแบบอย่างท่านนบี
2. สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ 
ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) 
หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
อบูซุบัยร์ได้รายงานจากสะอี๊ด บินญุบัยร์ โดยฟังมาจากอิบนิอับาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้ละหมาดดุฮ์ริกับอัศริรวมกันที่มะดีนะห์ โดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามและไม่ได้เดินทาง 
อบูซุเบรกล่าวว่า ฉันถามสะอี๊ดว่า ทำใมจึงทำเช่นนั้น เขาตอบว่า ฉันก็เคยถามอิบนิอับบาสอย่างนี้เหมือนกัน เขาตอบว่า ท่านรอซูลไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน (บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1147)
3. ส่วนผู้ที่อยู่ในสภาพของผู้เดินทางนั้น สามารถที่จะรวมและย่อละหมาดได้ด้วย วิธีการก็คือ
     3.1  นำละหมาดดุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยละหมาดย่ออย่างละ 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง)
-  ถ้าเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อรวมในเวลาของดุฮรี่ เรียกว่า “جمع تقديم“ ย่อรวมต้นของรอบบ่าย
-  ถ้าเอาเวลาของดุฮฺรี่ลงไปย่อรวมกับอัสรี่ เรียกว่า “جمع تاخير “ ย่อรวมหลังของช่วงบ่าย
(มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง)
     3.2  นำเอาอีชาขึ้นมารวมกับมัฆริบ 
-  ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัตก่อน เสร็จแล้วอิกอมะต์ละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต
(มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของละหมาดรอบค่ำ
-  เอามัฆริบลงไปย่อรวมในเวลาอีชา ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัตก่อน เสร็จแล้วอิกอมะต์ละหมาดอีชา
ย่อ جمع تاخير” ย่อรวมหลังของช่วงค่ำ
แต่ถ้าการเดินทางสิ้นสุดลงแล้ว อาทิเช่น เดินทางไปทำอุมเราะห์และฮัจญ์ ระหว่างเดินทางอยู่บนเครื่องบินและสนามบิน คือช่วงเวลาเดินทาง ละหมาดย่อและรวมได้ แต่พอถึงที่พักในมักกะห์หรือมะดินะห์ก็ตาม ถือว่าพ้นจากภาวะเดินทางแล้ว เพราะมีที่พักพิงสะดวกสบายแล้ว ให้ละหมาดเต็มตามอิหม่ามในท้องที่นั้นๆ ครั้นเมื่อออกเดินทางไปถึงทุ่งมีนาในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์ ก็เริ่มย่อละหมาดได้ เพื่อจะไปรอ 
วุกุฟในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ (وقوف Rest) ในขณะอยู่ที่ทุ่งอารอฟาต เข้าเวลาดุฮรี่ก็ละหมาดโดยการนำเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อและรวมกับดุฮฺรี่ (جمع تقديم) ถึงเวลามักริบยังไม่ละหมาดให้อพยบไปทุ่งมุซดาลิฟะห์เลย พอมาถึงทุ่งมุซดาลิฟะห์ ก็ให้เอาละหมาดมักริบ (ละหมาดเต็ม) มาละหมาดรวมย่อกับอิชาอฺ

เมื่อกลับมาถึงที่พัก โรงแรม หรือ บ้าน ที่มีความสะดวกสบายแล้ว เป็นอันว่าสิ้นสุดของการเดินทางแล้ว ให้กลับมาละหมาดเต็ม กรณีนี้ไม่อนุญาตให้ละหมาดชดใช้ด้วยการย่อ และรวมได้ (ดูมัฏละอุ้ลบัดรอยน์ ; ชัยค์ ดาวูด อัลฟะฏอนี หน้า 44)

การรวมละหมาด (يجمع الصلاة) หมายความว่า การรวมเอาละหมาดเวลาหนึ่งไปรวมละหมาดในอีกเวลาหนึ่ง ผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (لا قصر)
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อิหม่ามอะฮฺมัดอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ เมื่อไม่ว่าง (มีธุระยุ่ง) (ดูฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1/274)
คำถาม-คำตอบ เวบไซท์ อาลี เสือสมิง
ถามว่า “ถ้าเราไม่ว่างที่จะละหมาดในเวลาอัศริ สามารถรวมละหมาดในเวลาซุฮฺริได้หรือไม่? “
ก็ขอตอบว่า กลุ่มหนึ่งจากบรรดาอิหม่ามมีความเห็นว่าอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ในยามที่ไม่ได้เดินทางเนื่องจากมีความจำเป็น ซึ่งเป็นคำกล่าวของท่านอิบนุ ซีรีน ท่านอัชฮับฺจากสานุศิษย์ของอิหม่ามมาลิก และอัลคอฏฏอบีย์ได้เล่าจากอัลก็อฟฟ้าลและอัชชาชีย์ อัลกะบีร จากสานุศิษย์ของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และจากอบีอิสหาก อัลมะรูซีย์ และจากกลุ่มหนึ่งจากอัศฮาบุ้ลฮะดีษ (นักวิชาการหะดีษ) และอิบนุ อัลมุนซิรฺได้เลือกไว้ ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อิหม่ามอะฮฺมัดอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ เมื่อไม่ว่าง (มีธุระยุ่ง) (ดูฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1/274) อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกระทำเป็นประจำเพราะละหมาดฟัรฎูนั้นมีกำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้ว
การละทิ้งการละหมาด ก็เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังนำพาตนเองไปสู่การปฏิเสธ (กุฟร์)
ซึ่งท่านนบีฯ ได้กล่าวว่า :
إِنَّ بَيْنَ الَّرجُلِ و بَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفِر تَركَ الصَّلاَ ةِ
“แท้จริงระหว่างบุคคลที่ตั้งภาคีและระหว่างกับบุคคลปฏิเสธนั้น คือการละทิ้งการ ละหมาด” 
(รายงานโดยมุสลิม -82-)
ผู้ละทิ้งการละหมาดจะถูกใช้ให้สำนึกผิดและกลับตัว (เตาบะฮฺ توبة) และทำการละหมาด 
จากอัลหะดีษระบุว่า :
أمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتّى يَشْهَدُوْاأَنْ لاَإِلهَ إلا الله وأنَّ محمدً ارَسُولُ اللهِ ،
ويُقِيْمُواالصَّلاَةَ ويُؤْتُواالزَّكَاةَ ، فإذافَعَلُوْاذٰلِكَ عَصَمُوْامِنِّىْ دِمَاؤَهُمْ
وأَموالَهُمْ إِلاَّبِحَقِّ الإِسْلاَمِ ، وحِسَابُهُمْ عَلَى اللهِ
“ฉันได้ ถูกบัญชาให้รณรงค์กับผู้คนทั้งหลายจนกว่าพวกเขาจะปฏิญาณว่าไม่มี พระเจ้าองค์ใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ และจนกว่าพวกเขาจะดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว พวกเขาก็ได้ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาจากฉันแล้วเว้นเสียแต่ด้วย สิทธิแห่งอิสลาม และการพิพากษาพวกเขาเป็นกิจของอัลลอฮฺ” (รายงานโดยบุคอรี -25-/มุสลิม -22-)

ซุญูดซะฮฺวี سجود السهو
ซุญูดเพื่อซ่อมเสริมการละหมาดที่บกพร่องไป เช่นละหมาด 4 เราะกะอัต แต่หลงลืมแล้วทำเพียง 3 เราะกะอัต ก่อนให้สลามต้องซุญูดซะฮ์วี  หรือ ละหมาดเกินไป 1 เราะกะอัต เพราะหลงลืมไม่แน่ใจ ทำอีกหนึ่งเราะกะอัต ก่อนให้สลามต้องซุญูดซะฮ์วี
สาเหตุที่ต้องซุญูดซะฮฺวี
สุนัต (ส่งเสริม) ให้ซุญูดซะฮฺวี มี 5 ประการ ดังนี้
1) ละทิ้งประการที่เป็นสุนัตอับอ๊าฎข้อใดข้อหนึ่ง (เป็นอย่างน้อย) จะด้วยจงใจหรือไม่ก็ตาม (ถ้าคิดว่าวันนี้ฉันขี้เกียจทำสุนัตอับอ๊าฎ ฉันทำมามากแล้ว วันนี้เอาประการที่เป็นรูก่นก็พอ อย่างนี้ก็เข้าข่าย)
2) สงสัย เรื่องสุนัตอับอ๊าฎว่า “เอ่อ! ฉันทำสุนัตอับอ๊าฎอันนี้ อันนั้น หรือยังหน๋อ?” สงสัยไปสงสัยมาปาเข้าไปนานพอสมควร อย่างนี้ก็เข้าข่าย
3) การกระทำบางอย่าง (บางอย่างแม้จะลืม แต่ละหมาดนั้นโมฆะ) ด้วยการลืม ไม่ทำให้ละหมาดนั้นโมฆะ (ซึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการกระทำในละหมาด หากกระทำด้วยเจตนนาละหมาดนั้น ก็จะเสีย แต่หากลืมละหมาดนั้น ยังใช้ได้) เช่น นาย ก ทำรูก่นสั้นใด ๆ ของละหมาดให้เป็นรูกนยาว (โดยลืม) ตัวอย่างรูก่นสั้น คือ การเอี๊ยะอฺติดาล การนั่งระหว่างสองซุญูด การกล่าวน้อย ๆ การกินเล็กกะริดจิด การเพิ่มรอกาอัต หรือเพิ่มรูก่น หรือทิ้งรอกาอัต หรือรูก่นเพราะลืม
4) สลับที่ของการละหมาดที่ต้องมีคำกล่าว (เกาลี) ไปยังที่อื่นจากที่ที่มันควรจะถูกอ่านในละหมาด เช่น รุก่นเกาลี ได้แก่ อ่านซูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺในรุกั๊วะอฺ หรืออ่านอัต-ตะฮิยะฮฺครั้งสุดท้ายในกียาม (ขณะยืน) (เรื่องนี้ ถ้าเจตนาอ่าน ละหมาดจะโมฆะ แต่ถ้าลืมนั่นแหละ เข้าข่ายซุญูดซะฮฺวี) สุนัตอับอ๊าฎ (เกาลี) ได้แก่ อ่านดุอาอ์กุนูตในรุกั๊วะอฺ หรืออ่านอัต-ตะฮิยะฮฺครั้งแรกในกียาม (เรื่องนี้ถ้าเจตนาหรือลืมอ่าน ละหมาดจะไม่โมฆะ แต่นั่นแหละ เข้าข่ายซุญูดซะฮฺวี) สุนัตฮัยอะฮฺ (เกาลี) ได้แก่ การอ่านซูเราะฮฺ หรือดุอาอ์อิฟติตะฮฺในรุกั๊วะอฺ (เรื่องนี้ถ้าเจตนาหรือลืมอ่าน ละหมาดจะไม่โมฆะ แต่นั่นแหละเข้าข่ายซุญูดซะฮฺวี)
5) สงสัยว่า “ฉันละหมาดไปกี่รอกาอัตแล้วล่ะเนี่ยะ เฮ้ย! 3 หรือว่า 4 รอกาอัตแล้วหว่า?” ถ้าสงสัยอย่างนี้ ให้ยึดจำนวนที่น้อยที่สุดคือ 3 แล้วละหมาดต่อไปอีก 1 รอกาอัต เพื่อให้ครบ 4 รอกาอัต แต่ก่อนให้สลาม อย่าลืมซุญูดซะฮฺวีนั่นเอง
หมายเหตุ: ในละหมาดหนึ่ง ๆ ไม่ว่าคุณ ๆ เรา ๆ จะมีสาเหตุให้ต้องซุญูดซะฮฺวีมากหลายประการ ก่อนให้สลาม (หลังอ่านอัต-ตะฮิยะฮฺครั้งสุดท้ายและดุอาอ์) สุนัตให้ทำการซุญูดซะฮฺวี โดยเหนียตว่า “ฉันซุญูดซะฮฺวีเนื่องจากทิ้ง...(เช่น กุนูตศุบฮิ)...” และอ่านขณะซุญูดซะฮฺวีว่า “ซุบฮาน่า มัน ลายะนามู้ วะ ลายัสฮู”

วิธีการสุหญูดสะฮฺวี سجود السهو
การสุหญูดสะฮฺวียฺนั้นถือเป็นสุนนะฮฺ มิใช่สิ่งที่เป็นวาญิบตามมัซฮับ อัช-ชาฟิอียฺ และการสุหญูดสะฮฺวียฺนั้นคือการสุหญูด 2 ครั้ง โดยมีการนั่งคั่นระหว่างสองสุหญูด ดังนั้น เมื่อผู้ละหมาดสุหญูดสะฮฺวียฺและได้ทำการสุญูดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าไม่เป็นการสุญูดสะฮฺวียฺ แต่ถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้เนื่องจากเป็นการทิ้งสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺมิใช่วาญิบนั่นเอง

ซุญูดติลาวะฮ์ سجود التلاوة
การซุญูดติลาวะฮ์ คือ การสุยูด ในขณะที่อ่านผ่านอายะฮ์สะญะดะฮ์
ท่านอิบนุ อุมัร รายงานว่า "ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านอัลกุรอานให้พวกเราฟัง ดังนั้น เมื่อท่านอ่านผ่านอายะฮ์สะญะดะฮ์ ท่านจึงทำการตักบีร และสุยูด และเราได้ทำการสุยูด พร้อมกับท่าน" รายงานโดย อบูดาวูดและท่านอัลหากิม
ท่านอิบนุ อุมัร กล่าวว่า "เราได้ถูกใช้ให้ทำการสุยูด (หมายถึงสุยูดติลาวะฮ์) ดังนั้น ผู้ใดทำการสุยูด เขาได้กระทำความถูกต้อง และผู้ใดไม่สุยูด ย่อมไม่มีบาปอันใดบนเขา" รายงานโดย อัลบุคอรีย์
ท่านอิบนุ อุมัร กล่าวว่า "แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านอัลกุรอาน ท่านได้อ่านซูเราะฮ์ ที่มีสะญะดะฮ์ ดังนั้น ท่านนบีจึงทำการสุยูด และเราก็ทำการสุยูด พร้อมกับท่าน จนกระทั่งพวกเราบางส่วน ไม่มีสถานที่จะวางหน้าผาก" รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
บรรดาอายะฮ์ ที่มีสุยูดติลาวะฮ์ มี 14 แห่ง ดังนี้
1. ซูเราะฮ์ อัลอะร๊อฟ 206
إِنَّ الَّذِينَ عِندَ رَبِّكَ لاَ يَسْتَكْبِرُونَ عَنْ عِبَادَتِهِ وَيُسَبِّحُونَهُ وَلَهُ يَسْجُدُونَ
2. ซูเราะฮ์ อัรร่ออ์ดุ 15
وَلِلّهِ يَسْجُدُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ طَوْعاً وَكَرْهاً وَظِلالُهُم بِالْغُدُوِّ وَالآصَالِ
3. ซูเราะฮ์ อันนะห์ลิ 49
وَلِلّهِ يَسْجُدُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الأَرْضِ مِن دَآبَّةٍ وَالْمَلآئِكَةُ وَهُمْ لاَ يَسْتَكْبِرُونَ
4. ซูเราะฮ์ อิสรออ์ 107
قُلْ آمِنُواْ بِهِ أَوْ لاَ تُؤْمِنُواْ إِنَّ الَّذِينَ أُوتُواْ الْعِلْمَ مِن قَبْلِهِ إِذَا يُتْلَى عَلَيْهِمْ يَخِرُّونَ لِلأَذْقَانِ سُجَّداً
5. ซูเราะฮ์ มัรยัม 58
أُوْلَئِكَ الَّذِينَ أَنْعَمَ اللَّهُ عَلَيْهِم مِّنَ النَّبِيِّينَ مِن ذُرِّيَّةِ آدَمَ وَمِمَّنْ حَمَلْنَا مَعَ نُوحٍ وَمِن ذُرِّيَّةِ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْرَائِيلَ وَمِمَّنْ هَدَيْنَا وَاجْتَبَيْنَا إِذَا تُتْلَى عَلَيْهِمْ آيَاتُ الرَّحْمَن خَرُّوا سُجَّداً وَبُكِيّاً
6. ซูเราะฮ์ อัลหัจญ์ 18
أَلَمْ تَرَ أَنَّ اللَّهَ يَسْجُدُ لَهُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَمَن فِي الْأَرْضِ وَالشَّمْسُ وَالْقَمَرُ وَالنُّجُومُ وَالْجِبَالُ وَالشَّجَرُ وَالدَّوَابُّ وَكَثِيرٌ مِّنَ النَّاسِ وَكَثِيرٌ حَقَّ عَلَيْهِ الْعَذَابُ وَمَن يُهِنِ اللَّهُ فَمَا لَهُ مِن مُّكْرِمٍ إِنَّ اللَّهَ يَفْعَلُ مَا يَشَاءُ
7. ซูเราะฮ์ อัลหัจญ์ 77
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا ارْكَعُوا وَاسْجُدُوا وَاعْبُدُوا رَبَّكُمْ وَافْعَلُوا الْخَيْرَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
8. ซูเราะฮ์ อัลฟุรกอน 60
وَإِذَا قِيلَ لَهُمُ اسْجُدُوا لِلرَّحْمَنِ قَالُوا وَمَا الرَّحْمَنُ أَنَسْجُدُ لِمَا تَأْمُرُنَا وَزَادَهُمْ نُفُوراً
9. ซูเราะฮ์ อันนัมลิ 25
أَلَّا يَسْجُدُوا لِلَّهِ الَّذِي يُخْرِجُ الْخَبْءَ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَيَعْلَمُ مَا تُخْفُونَ وَمَا تُعْلِنُونَ
10. ซูเราะฮ์ อัสสะญะอะฮ์ 15
إِنَّمَا يُؤْمِنُ بِآيَاتِنَا الَّذِينَ إِذَا ذُكِّرُوا بِهَا خَرُّوا سُجَّداً وَسَبَّحُوا بِحَمْدِ رَبِّهِمْ وَهُمْ لَا يَسْتَكْبِرُونَ
11. ซูเราะฮ์ ฟุสสิลัต 37
وَمِنْ آيَاتِهِ اللَّيْلُ وَالنَّهَارُ وَالشَّمْسُ وَالْقَمَرُ لَا تَسْجُدُوا لِلشَّمْسِ وَلَا لِلْقَمَرِ وَاسْجُدُوا لِلَّهِ الَّذِي خَلَقَهُنَّ إِن كُنتُمْ إِيَّاهُ تَعْبُدُونَ
12. ซูเราะฮ์ อันนัจญ์มุ
فَاسْجُدُوا لِلَّهِ وَاعْبُدُوا
13. ซูเราะฮ์ อัลอินชิก๊อก 21
وَإِذَا قُرِئَ عَلَيْهِمُ الْقُرْآنُ لَا يَسْجُدُونَ
14. ซูเราะฮ์ อัลอะลัก 19
كَلَّا لَا تُطِعْهُ وَاسْجُدْ وَاقْتَرِبْ
การสุยูดติลาวะฮ์ ถือว่าเป็นสุนัต ผู้ใดต้องการจะสุยูด ก็ให้เขาทำการตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอม โดยยกมือทั้งสอง แล้วลงสุยูดเหมือนกับละหมาดทั่วไป หลังจากนั้น ให้เขาเงยขึ้นมาจากสุยูด โดยกล่าวตักบีร (โดยไม่ต้องยกมือทั้งสอง) และให้สลาม การตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอม ถือว่าเป็นเงื่อนไข ของการสุยูดติลาวะฮ์ และการให้สลามก็เป็นเงื่อนไข เช่นเดียวกัน
และสุนัตให้กล่าวในขณะสุยูด ว่า
اللَّهُمَّ لَكَ سَجَدْتُ وَبِكَ آمَنْتُ وَلَكَ أَسْلَمْتُ سَجَدَ وَجْهِي لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ تَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
(ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะห์ตาจญฺ ของท่านอิมามอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ เล่ม 1 หน้า 403 และหลังจากนั้น)

สุยูดซุโกรต่ออัลลอฮ์ سجود الشكر
รายงานจากอะบีบักเราะฮ์ ความว่า
‏عَنْ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏أَنَّهُ كَانَ ‏ ‏إِذَا جَاءَهُ أَمْرُ سُرُورٍ أَوْ بُشِّرَ بِهِ خَرَّ سَاجِدًا شَاكِرًا لِلَّهِ
"จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แท้จริงเมื่อมีสิ่งหนึ่งจากความปีติยินดีได้มาหาท่านหรือท่านได้รับแจ้งข่าวดี ท่านจะก้มลงสุยูดเพื่อชุโกรต่ออัลเลาะฮ์" รายงานโดยอะบูดาวูด (2393) ฮะดีษฮะซัน
อามิร บุตร สะอัด ได้รายงานจากบิดาของเขาว่า
‏قَالَ ‏ ‏إِنِّي سَأَلْتُ رَبِّي وَشَفَعْتُ لِأُمَّتِي فَأَعْطَانِي ثُلُثَ أُمَّتِي فَخَرَرْتُ سَاجِدًا شُكْرًا لِرَبِّي ثُمَّ رَفَعْتُ رَأْسِي فَسَأَلْتُ رَبِّي لِأُمَّتِي فَأَعْطَانِي ثُلُثَ أُمَّتِي فَخَرَرْتُ سَاجِدًا لِرَبِّي شُكْرًا ثُمَّ رَفَعْتُ رَأْسِي فَسَأَلْتُ رَبِّي لِأُمَّتِي فَأَعْطَانِي الثُّلُثَ الْآخِرَ فَخَرَرْتُ سَاجِدًا لِرَبِّي
"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ฉันได้ขอต่อผู้อภิบาลของฉันและทำการอนุเคราะห์ช่วยเหลือแก่ประชาชาติของฉัน ดังนั้นพระองค์จึงอนุญาตให้แก่ฉัน(ทำการอนุเคราะห์ช่วยเหลือ)ถึงเศษหนึ่งส่วนสามของประชาชาติของฉัน ดังนั้นฉันจึงก้มลงสุยูดเพื่อชุโกรต่อผู้อภิบาลของฉัน หลังจากนั้นฉันก็เงยศีรษะขึ้น แล้วขอต่อผู้อภิบาลของฉันให้แก่ประชาชาติของฉัน ดังนั้นพระองค์จึงอนุญาตแก่ฉัน(ช่วยเหลือ)อีกเศษหนึ่งส่วนสามจากประชาชาติของฉัน แล้วจึงก้มลงสุยูดเพื่อชุโกรต่อผู้อภิบาลของฉัน จากนั้นฉันเงยศีรษะขึ้น แล้วขอต่อผู้อภิบาลของฉันให้แก่ประชาชาติของฉัน ดังนั้นพระองค์จึงอนุญาตแก่ฉัน(ช่วยเหลือ)อีกเศษหนึ่งส่วนสามจากประชาชาติของฉัน แล้วจึงก้มลงสุยูดเพื่อชุโกรต่อผู้อภิบาลของฉัน" รายงานโดยอบูดาวูด (2394) ฮะดีษฮะซัน
อนึ่ง การสุยูดชุโกรนั้น จะไม่กระทำในละหมาด แต่ให้กระทำนอกละหมาดในขณะที่เกิดเนี๊ยะมัตหนึ่งหรือได้รอดพ้นจากภัยพิบัติหนึ่ง เป็นต้น
ส่วนวิธีการขั้นตอนการสุยูดชุโกรนั้นเหมือนกับการสุยูดติลาวะฮ์
กล่าวคือการสุยูดติลาวะฮ์ ถือว่าเป็นสุนัต ผู้ใดต้องการจะสุยูด ก็ให้เขาทำการตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอมโดยยกมือทั้งสอง แล้วลงสุยูดเหมือนกับละหมาดทั่วไป หลังจากนั้น ให้เขาเงยขึ้นมาจากสุยูดโดยกล่าวตักบีร(โดยไม่ต้องยกมือทั้งสอง)และให้สลาม การตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอม ถือว่าเป็นเงื่อนไขของการสุยูดติลาวะฮ์และการให้สลามก็เป็นเงื่อนไขเช่น เดียวกัน
และการสุยูดชุโกรก็ต้องมีน้ำละหมาด ท่านอิมามอัลคอฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า "หากผู้อ่านอัลกุรอาน หรือผู้สดับฟัง หรือผู้ได้ยิน หรือผู้จะทำการสุยูดชุโกร ได้มีฮะดัษ(คือไม่มีน้ำละหมาด) ก็ให้เขาทำการอาบน้ำละหมาด(ฏ่อฮาเราะฮ์) บริเวณใกล้ ๆ แล้วทำการสุยูด และหากมิเป็นเช่นนั้น (หมายถึงสถานที่อาบน้ำละหมาดอยู่ไกล) ก็ไม่ต้องสุยูด" หนังสือมุฆนีลมั๊วะห์ตาจญ์ 1/409 ตีพิมพ์ เตาฟีกียะฮ์
และสุนัตให้กล่าวในขณะสุยูด ว่า
اللَّهُمَّ لَكَ سَجَدْتُ وَبِكَ آمَنْتُ وَلَكَ أَسْلَمْتُ سَجَدَ وَجْهِي لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ تَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
"อัลลอฮุ้มม่า ละก้า สะญัดตุ้ วะบิก้า อามันตุ้ วะละก้า อัสลัมตุ้ สะญะดะวัจญฺฮี ลิลละซีค่อละก็ฮุ วะเศาวะร่อฮุ วะชักก็ซัมอะฮุวะบะซ่อร่อฮุ ตะบาร่อกัลลอฮุ อะห์ซะนุลคอลิกีน"

วิธีการละหมาดญะนาซะห์ (ละหมาดคนตาย)  صلاة الجنازة 

อิหม่ามยืนนมาซต่อหน้ามัยยิต
  1. มัยยิตชาย ให้ยืนทางด้านศีรษะสำหรับ
  2. มัยยิตหญิงให้อิหม่ามยืนตรงช่วงเอวหรือสะโพก
มะอะมูม(ผู้ละหมาดตาม) ให้เข้าแถวเรียงหน้ากระดานไปหลายๆ แถว เน้นให้ได้หลายๆ แถว (ไม่ยืนเข้าแถวแบบละหมาดธรรมดา)
1. การละหมาดญะนาซะห์ วาญิบผู้ละหมาดจะต้องอาบน้ำนมาซ
2. เหนียต (ตั้งเจตนา) ว่านมาซญะนาซะห์ โดยไม่อนุญาตให้กล่าวคำเหนียตออกมาเป็นคำพูด
3. ยกมือทั้งสองข้าง แบตั้งหันเอาฝ่ามือออกไปทางกิบลัต เสมือนว่าเราจะยื่นไปจับหินดำ ยกขึ้นเสมอไหล่กล่าว ตักบีเราะตุลอี้หะรอม (تكبيرة الإحرام) ว่า อัลลอฮุ อักบัรاللهُ أَكْبَرُ แล้วเอามือลงมากอดอก ฝ่ามือขวาทับอยู่บนหลังมือซ้าย
กอดอกระดับใต้ราวนม
4. จากนั้นให้อ่านซูเราะห์ฟาติหะห์
5. กล่าวตักบีรฺ (ครั้งที่สอง) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ اللهُ أَكْبَرُ ” โดยไม่ต้องยกมือ
6. และให้อ่านเศาะละวาตนบี
7. กล่าวตักบีรฺ (ครั้งที่สาม) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ اللهُ أَكْبَر ” โดยไม่ต้องยกมือ แล้วอ่านดุอาอ์ว่า
« اللَّهُمَّ اغْفِرْ لَهُ وَارْحَمْهُ وَاعْفُ عَنْهُ وَعَافِهِ وَأَكْرِمْ نُزُلَهُ وَوَسِّعْ مُدْخَلَهُ وَاغْسِلْهُ بِالماَءِ وَالثَلْجِ وَالبَرَدِ وَنَقِّهِ مِنَ الْخَطَايَا كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ وَأَبْدِلْهُ دَارًا خَيْرًا مِنْ دَارِهِ وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهِ وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهِ وَأَدْخِلْهُ الجَنَّةَ وَأَعِذْهُ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ وَمِنْ عَذَابِ النَّار »
คำอ่าน “อัลลอฮุมมัฆฟิรฺ ล่าฮู วัรฺฮัมฮุ วะอฺฟุ อันฮุ ว่าอาฟี้ฮี ว่าอั๊กริม นุซุล่าฮู ว่าวัซเซี๊ยะอฺ มุดค่อล่าฮู วัฆซิลฮุ บิ้ลมาอี้ วัซซัลยี่ วัลบ้าร่อดี้ ว่านักกี้ฮี มินัลค่อฏอยาย่า ก้ามา ยุนักก็อยเซาบุลอั๊บย่าฎุ มินัดด้านัซ ว่าอั๊บดิ้ลฮุ ดาร็อนค็อยรอน มิน ดารี่ฮี ว่าอะฮฺลัน ค็อยรอน มินอะหฺลี่ฮี ว่าเซายัน ค็อยรอน มิน เซายี่ฮี ว่าอัดคิลฮุลญันน่าต้า ว่าอ้าอิซฮุ มิน อ้าซาบิ้ลก็อบรี่ ว่ามินอ้าซาบินนารฺ”

คำแปล “โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่เขา, ทรงเมตตาต่อเขาทรงให้เขามีความปลอดภัย, ทรงอภัยโทษให้แก่เขา, ทรงทำให้ที่ลงของมีเกียรติ, ทรงทำให้ที่ข้าวของเขากว้างขวาง, ขอพระองค์ทรงโปรดชำระล้างเขาด้วยน้ำ, น้ำหิมะ, และน้ำลูกเห็บ และทรงโปรดทำให้เขาบริสุทธิ์ผุดผ่องจากความผิดต่างๆ ของเขา เสมือนกับที่พระองค์ทำให้เสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องจากสิ่งสกปรก, ขอพระองค์ทรงเปลี่ยนบ้านที่ดีกว่าบ้านของเขา และครอบครัวที่ดีกว่าครอบครัวของเขา, เปลี่ยนคู่ครองที่ดีกว่าคู่ครองของเขา, พระองค์ทรงทำให้เขาเข้าสวรรค์, ขอพระองค์ทรงปกป้องเขาจากการลงโทษในหลุมฝังศพ และการจากลงโทษในไฟนรกด้วยเถิด”
8. กล่าวตักบีรฺ (ครั้งที่สี่) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ اللهُ أَكْبَر ” โดยไม่ต้องยกมือ ไม่ต้องกล่าวอะไรทั้งสิ้น
9. ให้สลาม السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ ครั้งเดียวหน้าตรง ไม่หันซ้ายขวา
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم صَلَّى عَلَى جَنَازَةٍ فَكَبَّرَ عَلَيْهَا أَرْبَعًا وَسَلَّمَ تَسْلِيمَةً وَاحِدَةً
“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺนมาซญะนาซะฮฺโดยตักบีรฺสี่ครั้ง และให้สลามเพียงครั้งเดียวเท่านั้น”
ให้สลามแล้วถือว่านละหมาดญะนาซะห์สมบูรณ์แล้ว จากนั้นให้แบกผู้ตาย (มัยยิต ميت ) ไปกุบูรฺทันที โดยไม่มีการอ่านดุอาอ์ หรืออ่านอัลกุรฺอานอะไรอีก
- ศาสนาอนุญาตให้ผู้หญิง (มุสลิมะฮฺ) นมาซให้แก่คนตายได้ มุสลิมะฮฺในยุคของท่านรสูลุลลอฮฺก็เคยนมาซในแก่ผู้ตายมาแล้ว

*ท่านเราะซูลุลลอฮิสอนว่า “ถ้าใครละหมาดญะนาซะห์ เขาจะได้ผลบุญเท่ากับเขาอุหุด และถ้า ใครเดินตามมัยยิตไปส่งถึงที่กุบูรเขาก็จะได้ผลบุญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าเขาอุหุด”

วิธีอาบน้ำมัยยิต غسل جثث الموتى
1. ควรวางมัยยิตไว้สถานที่สูง
2. เปลื้องผ้าของมัยยิต จากนั้นนำผ้ามาปิดเอาเราะห์ของเขา
3. ผู้อาบน้ำให้มัยยิตจะต้องเนียตอาบน้ำให้มัยยิต
4. ให้รีดท้องมัยยิตเบาๆ เพื่อนำสิ่งที่ค้างอยู่ภายในออกมา และให้ขจัดนะญิส บนร่างกายของเขา
5. ให้ผู้อาบน้ำให้มัยยิตนำผ้ามาพันมือ หรือถุงมือ ขณะถูอวัยวะที่เป็นเอาเราะห์ของผู้ตาย (เพราะการกระทบเอาเราะห์ของผู้ตายถือว่าต้องห้าม)
6. ให้ผู้อาบน้ำมัยยิตอาบน้ำละหมาดให้แก่มัยยิต
7. เสร็จแล้วให้อาบน้ำให้มัยยิต 3 ครั้งด้วยน้ำและสบู่ (หากเห็นว่าไม่สะอาดจะทำให้มัยยิต 5, 7 ครั้งก็ได้)
8. เมื่ออาบเสร็จแล้วให้นำผ้าสะอาดมาซับร่างกายมัยยิตให้แห้ง (เพื่อมิให้ผ้ากะฝั่งเปียก)
9. ขั้นตอนสุดท้ายให้พรมน้ำหอมตามร่างกายมัยยิต
ภาคผนวกเกี่ยวกับมัยยิต
- ไม่พบหลักฐานให้ตัดเล็บ ขลิบหนวด โกนขนรักแร้,ถอนขนในร่มผ้าของผู้ตาย แต่ควรหวีผมและสางเคราผู้ตายให้เรียบร้อย
- อนุญาตให้สามีอาบน้ำมัยยิตให้แก่ภรรยา (หรือภรรยาอาบน้ำให้แก่สามีได้) ส่งเสริมให้ผู้อาบน้ำมัยยิตอาบน้ำเสมือนการอาบน้ำญะนาบะฮ
- Salatul Janzah is Fard Kafayah ละหมาดญะนาซะห์เป็นฟัรดูกิฟายะห์ หมายถึงใครทำก็ได้บุญ ถ้ามีคนอื่นทำแล้วเราจะไม่ทำก็ไม่บาป 
แต่เราทำแล้วเราจะได้ผลบุญใหญ่เท่าเขาอุหุด ถ้าตามไปฝังด้วยก็จะได้บุญอีกหนึ่งเท่าเขาอุหุดอีก รวมได้สองเท่าเขาอุหุด ฉะนั้นเลือกที่ทำดีกว่าไปผลบุญมากมาย

อะซาน และ อิกอมะห์ اذان و اقامه

คำอะซานของท่านบิลาล(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ رضي الله عنه) ซึ่งท่านใช้อะซานในสมัยท่านนบี ( ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 499 และอิบนุ มาญะฮฺ 706 ) ซึ่งมีทั้งหมด 15 ประโยค ดังนี้


ประโยคอะซาน اذان Adhan

1.
อัลลอฮุอักบัรฺ (อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)
اللهُ أَكْبَرُ
2.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
3.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
4.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
5.
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ข้าปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
6.
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
7.
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ (ข้าปฏิญาณว่า มุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
8.
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
9.
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ (มาละหมาดกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
10.
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
11.
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ (มาสู่ความสำเร็จกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
12.
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
*
อัซเซาะลาตุ ค็อยรุ่ม มินัลโนม อะซานเพิ่มเติมในเวลาฟัจรี่ (ซุบฮิ)
الصلاة خير من النوم
*
อัซเซาะลาตุ ค็อยรุ่ม มินัลโนม อะซานเพิ่มเติมในเวลาฟัจรี่ (ซุบฮิ)
الصلاة خير من النوم
13.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
14.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
15.
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
لا إلَـهَ  إلَّا الله
*
อัซเซาะลาตุ ค็อยรุ่ม มินัลโนม อะซานเพิ่มเติมในเวลาฟัจรี่ (ซุบฮิ)
الصلاة خير من النوم
ดุอาอ์หลังอะซาน

اَللَّهُمَّ رَبَّ هٰذِهِ الدَّعْوَةِ التَّامَةِ وَالصَّلاَةِ الْقَائِمَةِ آتِ مُحَمَّدَنِ الْوَسِيْلَةَ وَالْفَضِيْلَةَ وَابْعَثْهُ 
مَقَامًامَحْمُوْدَنِ الَّذِيْ وَعَدْتَهُ

คำอ่าน
อัล ลอฮุมม่า ร็อบบะฮาซิฮิดดะอฺ วะติฎ ตามมะฮฺ วัศศ่อลาติลกออิมะฮฺ อาติ มุฮัมม่าดะนิล วะซีละฮฺ วัลฟะดีละฮฺ วับอัสฮุ มะกอมัม มะฮฺมูดะนิล ละซี วะอัดตะฮฺ

คำแปล
โอ้ อัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งการเชิญชวนที่สมบูรณ์และการละหมาดที่ดำรงอยู่ ได้โปรดประทานฐานะ อันสูงส่งและความประเสริฐแด่ท่านนบีมุฮัมหมัด และขอพระองค์ได้ส่งท่านนบีมุฮัมหมัด สู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญตามที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้แก่ท่านนบีด้วย เถิด

ความประเสริฐของดุอาอ์บทนี้ ผู้ใดได้อ่านหลังจากอะซานจบ เขาจะได้รับ”ชะฟะอะห์ของท่านนบี (ซ็อลลัลลอฮุ อ้าลัยฮิ วะซัลลัม) ในวันกิยามะต์ (บันทึกโดยบุคอรี614 เป็นหะดีษซอฮิหะต์

อะซานยามฟัญรี่(ซุบหิ) ที่มัสญิดหะรอม (มักกะห์) และมัสญิดนะบะวี (มะดินะห์) จะอะซาน 2 ครั้ง
คือ
  1. ครั้งแรกก่อนเข้าเวลาฟัจรี่ชั่วครู่ อะซานโดยมีประโยค “อัซเซาะลาตุ ค็อยรุ่ม มินัลโนม” 
  2. ครั้งที่สองจะไม่มีประโยค “อัซเซาะลาตุ ค็อยรุ่ม มินัลโนม”
วันศุกร์ เข้าเวลาดุฮรี่จะอะซานก่อนอิหม่ามขึ้นมิมบัร หนึ่งครั้งก่อน
อิหม่ามขึ้นมิมบัรให้สลามแล้ว ก็จะอะซานอีกครั้งหนึ่ง


สุนัตสำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงอะซานไม่ว่าจะชายหรือหญิง ดังนี้
ให้กล่าวเหมือนกับผู้อะซานกล่าวทุกประโยค

ยกเว้นเมื่อรับประโยค
“หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ” กับ “หัยยะอะลัลฟะลาหฺ” ให้กล่าวว่า 
(لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إلَّا بِالله)
(อ่านว่า ลาเฮาละ วะลา กุวะตะ อิ้ลลา บิ้ลลาฮิ)
ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้อะซาน


ประโยค อิกอมะห์ اقامه Iqamah

1.
อัลลอฮุอักบัรฺ (อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่) اللهُ أَكْبَرُ
2.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
3.
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ข้าปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
4.
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ (ข้าปฏิญาณว่า มุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
5.
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ (มาละหมาดกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
6.
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ (มาสู่ความสำเร็จกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
7.
ก็อดกอมะติศ เศาะลาฮฺ (การละหมาดได้เริ่มแล้ว)
قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ
8.
ก็อดกอมะติศ เศาะลาฮฺ
قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ
9.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
10.
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
11.
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
لا إلَـهَ  إلَّا الله



อภิธานศัพท์ قاموس مصطلحات Glossary

Graphic Design The Name of Allah the most gracious and the most merciful.
ภาพกราฟิกของคำว่า بسم الله الرحمان الرحيم 
“บิสมิลลา ฮิรเราะห์ มานิรเราะห์ฮีม” 
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ

หลักการปฏิบัติ (รุกุ่น الركن อ่านว่า "อัด- ระ-กัน") –  (الركن "อัด- ระ-กัน" เอกพจน์,  الاركان อ่านว่า ""อัด- ระ-กา-นุ"พหูพจน์) ” แปลว่า กฎ ข้อบังคับ มุม ในอิสลามมีกฎการปฏิบัติ 5 ประการ คือ
1 การปฏิญาณตน (اَلشَّهَادَاتَيْنَ) (Promising to Allah)ต่ออัลลอฮ์ว่า - 
اَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ اِلَّا اللهُ وَ اَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّداَ رَسُوْلُ اللهِ 
I bear witness that there is no god but God, and I bear witness that Muhammad is His messenger.
ฉันขอปฏิญาณว่า แน่แท้แล้วไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮุ
และฉันขอปฏิญาณว่าแน่แท้แล้วมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮิ
2 การตั้งมั่นในละหมาด (اَلصَّلاَةُ) (Pray, 5 times a day) - วันหนึ่งห้าเวลา (ดูเรื่องละหมาด)
3 การจ่ายซะกาต (الزكاة) (Yearly Tax) - ทรัพย์สินเงินทอง สินค้า ปศุสัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร เข้าเกณฑ์พิกัดก็จะต้องนำจ่ายแก่ หน่วยงานที่ทำการเรื่องภาษี
4 การถือศีล-อดในเดือนเราะมะฎอน (صوم رمضان) - เดือนเราะมะฎอนคือเดือนที่ 9 ในปีปฏิทินจันทรคติอิสลาม เริ่มถือศีลก่อนตะวันขึ้น และละศีลได้เมื่อตะวันลับขอบฟ้าล้า เป็นเวลา หนึ่งเดือน (29 หรือ 30วัน)
5 การไปปฏิบัติฮัจญ์ (الحج في بيت الله) – การไปปฏิบัติฮัจญ์นั้นมีหลักเกณฑ์ว่า
     5.1 ต้องมีความพร้อมทางร่างกาย (การที่ป่วยแล้วคิดว่าจะไปตายที่นครมักกะห์ขณะทำฮัจญ์นั้นมีความคิดที่ผิดจากหลักศาสนาอิสลาม)
     5.2 ต้องมีความพร้อมทางเศรษฐกิจภายในบ้านและครอบครัว อย่างไม่บกพร่อง ไม่มีหนี้สิน ไม่กู้หนี้ยืมสินใครเพื่อฮัจญ์
     5.3 ต้องมีความปลอดภัยระหว่างทาง
     5.4 ถ้าเป็นสตรีจำเป็นต้องมีมะหฺร็อม (ผู้ดูแลและคุ้มครองขณะไปทำฮัจญ์ “ท่านนบีฯ เคยให้สามีนายหนึ่งที่จะต้องไปสนามรบ ไปเป็นมะหฺร็อมแก่ภรรยาที่จะไปทำฮัจญ์)

  ภาพกราฟิกของคำว่า صلي الله عليه و سلم 
“ซ็อล ลัลลอฮุ อ้าลัยฮิ วะ ซัลลัม” 
ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงสรรเสริญ และประทานความศานติแด่ท่านบีมุหัมมัดด้วยเถิด
หรือบางครั้งก็จะเขียน "ซ.ล." แทน 

เศาะหาบะฮฺ (صحابة ) – คือบรรดาเหล่าคนใกล้ชิด คนสนิท คนติดตาม คนคอยช่วยเหลือ สาวก ท่านนบีมุฮัมมัด

อัลลอฮ์ اَللّهُ - เป็นชื่อหนึ่งของพระเจ้าผู้ทรงเอกะของยิว คริสต์ อิสลาม ในภาษาอาหรับมีชื่อเรียกอัลลอฮ์ 99 พระนาม

ละหมาด - เป็นคำที่แผงมาจาก นมาซ نماز ในภาษาเปอร์เซีย และอูรดู ซึ่งมีความหมายว่า การนมัสการ สักการะ ต่ออัลลอฮ์ มีความหมายในภาษาอาหรับว่า "เซาะลาต์  الصلاة" มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Pray

ซุนนะตุ้นนบี سنة النبي - คำว่า "ซุนนะห์ หมายถึงแบบอย่างพระจริยาวัตรและพระวัจนะพระดำรัสท่านศาสดามุฮัมมัด คำว่า "นบี" หมายถึงศาสดาต่าง ๆ ท่านได้วิวรณ์จากคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลอฮ์ ผ่านมะลาอิกะห์ (ทูตจากอัลลอฮุนำสาสน์มาสู่ท่านศาสดามุฮัมมัด)

นบี – คือบรรดาท่านศาสดาต่างๆ แต่ไม่ได้รับคัมภีร์มาเผยแผ่แก่ประชาชาติ 
ในอัลกุรอานกล่าวนามไว้ประมาณ 25 ท่าน 
มี 4 ท่านที่ได้รับคัมภีร์มาเผยแผ่ จะได้ชื่อว่า เราะซู้ล ลุ่ลลอฮิ  หรือ ศาสนทูต คือ
นบีมูซา مُسَى (Moses คัมภีร์เตาร็อต Torah) 
นบีดาวูด دَوُّدَ  David คัมภีร์ ซะบูร Sabur
นบีอีซา عِسَى Jesus คัมภีร์อินญีล InGil
มุฮัมมัด مُحَمَّدُ صل٠ Muhammad คัมภีร์อัลกุรอาน Al qur-an

มะลาอิกะห์ ملاكة - คือบริวารของอัลลอฮ์ที่ถูกสร้างจากรัศมีของอัลลอฮ์ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเพศ ไม่กินไม่ดื่ม ไม่หลับไม่นอน ไม่ขยายเผ่าพันธุ์ มีชั้นศักดิ์ต่ำกว่ามนุษย์ มีหน้าที่นำสาสน์หรือพระดำรัสมาสู่ท่านศาสดา มะลาอิกะห์ไม่ใช่ทูตสวรรค์ ไม่ใช้ เทวดานางฟ้า ไม่ใช่ Angle 

โองการ وحي (วะฮี) - [n.] divine prescription [n.] a command - คือคำพระดำรัสจากอัลลอฮ์ ผ่านมะลาอิกะห์ มาสู่ท่านนบี

เซาะฮาบะห์ صحابة (สาวก) associate ; companion ; comrade ; fellow ; friend ; pal - ศิษย์,ผู้เจริญรอยตาม,ลูกศิษย์,ศิษยานุศิษย์,สานุศิษย์ สาวก ของท่านนบีมุฮัมมัด

ตักบีร تكبير - คือการกล่าวว่า "อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر" อัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่ และถ้าใช้ในห้วงเวลาละหมาดจะหมายถึง การยกมือทั้งสองแบออกนอกตัวเหมือนว่า จะยื่นไปแตะจับหินดำ ยกขึ้นเสมอไหล่ แล้วกล่าว "อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر"

หะดีษ حديث - คือบทบันทึก พระวัจนะและจริยวัตรและพระดำรัสชองท่านนบีมุฮัมมัด

ความสะอาด  الطهارة  Purity, Cleanness - คือความสะอาดทั่วไปและความสะอาดทางร่างกายต้องเป็นไปตามอิสลามบัญญัติด้วย ไม่เพียงอาบน้ำถูสบู่อย่างเดียว

น้ำละหมาด الوضوء Ablution - คือสภาพของร่างกายที่ผ่านการทำความสะอาดตามอิสลามบัญญัติ ดูวิธีการอาบน้ำเล็ก (الوضوء) และวิธีการอาบน้ำใหญ่ (جنابة)

ญะนาบะห์ جنابة – หทายถึงสภาพร่างกายที่มีมลทินทางศาสนา ไม่สามารถทำละหมาดได้ ต้องชำระร่างกายด้วยวิธีทางอิสลามเสียก่อน หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาบน้ำยกหะดัสใหญ่ หรืออาบน้ำญูนุ้บ (ญูนุ้บ جنب) ดูรายละเอียดการอาบน้ำที่เนื้อหา

รายงานโดย หรือ บันทึกโดย (ชื่อเขา) 
رَوَايَةُ narration ; narrative ; novel ; report ; story ; tale ; version ... 
– คือผู้ที่รวบรวมบันทึกหะดีษต่างๆไว้ ซึ่งมีหลายคน เช่น
ลูกศิษย์ของพวกเขา : ลูกศิษย์ของลูกศิษย์ของผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน ลำดับชั้นที่ 7
• อัลบุคอรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 256)
• มุสลิม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 271)
• อิบนุ มาญะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 273)
• อบูหาติม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 277)
• อบูซุรอะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 264)
• อบูดาวูด (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 275)
• อัตติรมีซีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 279
• อันนะสาอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 234)
ฯลฯ

ญิน  جن genie – คือภูตทีถูกสร้างจากไฟเช่นเดียวกันกับ ชัยฏอน แต่ไม่มีอำนาจเท่าชัยตอนที่คอยยุยงให้มนุษย์ทำชั่ว ญินอาศัยอยู่ทั้งบนโลกดุนยาและไปมาระหว่างใต้ชั้นสวรรค์ได้ มีทั้งเพศผู้ เพศเมีย ญินมีทั้งประเภทดี และประเภทร้าย

ชัยตอน شيطان Demon - คือภูต (ภูตในที่นี้มิได้หมายถึงผีหรือปิศาจ มันเป็นร่างที่ถูกสร้างมาจากไฟ) ร้ายที่คอยชักชวนมนุษย์ให้ทำความชั่ว ชัยตอนมันถูกอัลลอฮ์สร้างมาจากไฟ ได้รับอภิสิทธิ์ให้แปลงร่างได้เพื่อหลอกล่อมนุษย์ให้ทำชั่ว เพราะมันเคยโต้แย้งกับอัลลอฮ์ว่า มนุษย์นั้นมีนิสัยชอบไปทางชั่วมากกว่าทางดี แต่อัลลอฮ์ก็แย้งว่าให้มนุษย์ตัดสินใจเอาเอง ระหว่างอัลลอฮ์ผู้ประทานทุกสิ่งอย่างให้แก่มนุษย์ยังชีพบนดุนยา دنيا (ภพภูมินี้) ซึ่งมีทั้งคำเตือนคำสอนให้มนุษย์ทำอิบาดะห์เป็นข้อทดแทนพระองค์

อิบลิส ابليس Satan – คือภูตที่สร้างมาจากไฟ เช่นเดียวกับชัยตอน แต่มันเป็นหัวหน้าของชัยตอน มีอภิสิทธิ์เข้าออกสวรรค์ได้ แต่ที่พำนักมันอยู่ในนรก มีอำนาจเหมือนชัยตอนสามารถแปลงร่างได้ตามปรารถนา มีหน้าที่คอยชักชวนมนุษย์ผู้เกียจคร้านให้ละทิ้งอาม้าลอิบาดะห์ (การปฏิบัติกรรมดี) มันคอยยุแหย่ว่า อาม้าลอิบาดะห์นั้นเหนื่อยยาก วุ่นวาย เสียเวลากับความสุขความรื่นเริง มันคอยกระซิบข้างหูเราว่า การทำอาม้าลอิบาดะห์นั้นผัดผ่อนไปก่อนได้ เดี๋ยวค่อยทำ พรุ่งนี้ค่อยทำ พรุ่งนี้ค่อยทำ พรุ่งนี้ค่อยทำ

วิญญาณ (روح spirit) – เป็นคำนามในภาษาไทยหมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ โดยปริยายหมายถึงจิตใจเช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน (เป็นคำปาลีและสันสกฤต) ในอิสลาม คือ รั๊วหฺ ที่อัลลอฮ์เป่าใส่ในร่างมนุษย์ (ที่ถูกสร้างมาจากดิน) เมื่อยังอยู่ในครรภ์มารดาประมาณเดือนที่ 3 วิญญาณได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการสักการะแต่อัลลอฮ์โดยให้คัมภีร์อัลกุรอานมาเป็นทางนำ ให้นบีมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

บัยตุ้ลเลาะฮ์ بيت الله Allah House – ใช้เรียกอาคารวิหารย์กะอะบะห์ที่ท่านนบีอิบรอฮีม
(عاليه سلام ขอความศานติจงมีแด่ท่านด้วยเทอญ) ปฏิสังขรณ์ขึ้นมาจากการสร้างของมะลาอิกะห์สมัยนบีอาดัม (عاليه سلام ขอความศานติจงมีแด่ท่านด้วยเทอญ)

อิกอมะห์ اقامه – คือการป่าวประกาศว่าให้ลุกขึ้นทำละหมาด มีความหมายควบคู่กับ อะซาน (اذان)

อะซาน (اذان) – คือการป่าวประกาศว่าถึงเวลาละหมาดแล้ว ให้มุสลิมีนทั้งหลายมาละหมาดร่วมกันที่มัสญิด

ฟัรดู الفرائض Fara-ed– คือ กฎ ข้อบังคับ กฤษฎีกา กฎหมาย พระราชบัญญัติ

ตักบีเราะตุลอี้หะรอม الإحرام تكبيرة – คือการตักบีร (การกล่าวคำว่า "อัลลอฮุ อักบัร") 
เฉพาะครั้งแรกในการละหมาด ตักบีรหลังจากนี้เรียกตักบีรธรรมดา 
วิธีการคือ หันหน้าไปทางกิ๊บลัต (القبلة) (จุดที่อาคารกะอฺบะห์ตั้งอยู่ คือมัสญิดิ้ลหะรอม นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิ อาราเบีย) ยกมือทั้ง 2 ข้าง แบเอาฝ่ามือออกจากตัว ยกประมาณเสมอไหล่ พร้อมกับกล่าวว่า “อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر” เอามือลงมากอดอกระดับใต้ราวนม โดยให้ฝ่ามือขวา ทับหลังมือซ้ายไว้

ตักบีร تكبير แปลว่าการกล่าว อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر (อัลลอฮุ ผู้ทรงเกรียงไกร) ในการกล่าวซิกิร (กล่าวเมื่อรำลึกถึงอัลลอฮ์) แต่ถ้าในช่วงเวลาละหมาดจะมีการยกมือทั้งสองขึ้นเสมอไหล่พร้อมกับกล่าวว่า อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر และมีทั้งการกล่าวพร้อมยกมือและการกล่าวแบบไม่ต้องยกมือ

ละหมาดสุนัต – คือละหมาดเสริม เติมเต็มให้ละหมาดฟัรดู (ภาคบังคับ) สมบูรณ์มากขึ้น 
ละหมาดสุนัตเป็นละหมาดภาคใจอาสา ไม่ทำไม่บาป ทำแล้วได้บุญ

  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (راصي الله عنها) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวกหญิง “ขออัลลอฮ์ทรงให้ความปิติแด่เธอด้วยเทอญ” “Allah Please Delight her.”

  ร่อดิยัลลอฮุอันฮุม ( راضي الله عنهم ) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวกชาย(หลายคน) “ Allah Please Delight them.”
ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ (راضي الله عنه) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวกชายคนเดียว 
 “Allah Please Delight him.”

  ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ (راضي الله عنه) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวกชายคนเดียว 
 “Allah Please Delight him.”

(ร.ด.) ย่อมาจาก - ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ (راضي الله عنه) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวกชายคนเดียว “Allah Please Delight him.”

นั่งตะชะฮู้ด تشهود – นั่งตะชะฮู้ดคือการนั่งตามแบบอิสลามบัญญัติเรื่องการละหมาด วิธีการนั่งคือ

การนั่งตะชะฮู้ดแรก คือการนั่งเอาขาพับมาข้างหลัง ขาและน่องและฝ่าเท้าซ้ายรองก้น เท้าขวาใช้ท้องนิ้วเท้ายันพื้น ฝ่าเท้าและส้นเท้าตั้งชันขึ้น น่องเหยียดอยู่ข้างลำตัวชี้ไปข้างหลัง มือซ้าย แบ วางอยู่บนเข่า มือขวากำคว่ำ แยกนิ้วชี้ออก วางอยู่บนเข่า

การนั่งตะชะฮู้ดหลัง คือการนั่งอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าการนั่งแบบ “ตะวัรรุก” คือการนั่งเอาปลายเท้าซ้ายสอดเข้าใต้แข้งขวา ก้นจะนั่งบนพื้น เท้าขวาเหมือนเดิมคือ ท้องนิ้วเท้าขวาจะยันอยู่กับพื้น ฝ่าเท้าและส้นเท้าจะตั้งชันขึ้น น่องเหยียดอยู่ข้างลำตัวชี้ไปข้างหลัง มือซ้าย แบ วางอยู่บนเข่า มือขวากำคว่ำ แยกนิ้วชี้ออก วางอยู่บนเข่า

สลาม - التسليم - السلام عليكم ورحمة الله – คือการกล่าวให้พรแก่บุคคลที่อยู่ข้างหน้าหรือด้านข้าง อัสลามุ แปลว่า ขอความศานติสุข, อ้าลัยกุ้ม แปลว่า ถึงพวกท่าน, วะ เราะหฺ มะตุ้ลลอฮิ แปลว่า และขอความเมตตาปราน๊จากอัลลอฮ์สู่ท่าน

ซิกิร หรือซิกุรุลลอฮ์ ذكر الله – คือการรำลึกถึงด้วยการกล่าวคำสรรเสริญแด่อัลลอฮ์ เช่นการกล่าวคำ

“ตัสบีห๊ะ التسبيح – ซุบะฮา นัลลอฮุ”,
“ต๊ะหะมี้ด التحميد – อัลฮัมดุ ลิลลาฮิ”,
“ตักบีร التكبير – อัลลอฮุ อักบัร”

ลำดับ : เหตุการณ์
มาลิกี
ชาฟิอี
ฮัมบาลี
หะนาฟี
ซะลาฟี/อะห์ลิหะดีษ
ชีอะต์/อิมามิ
กุนูต
สุนัตในเวลาฟัจรี่ ก่อนรุกูอะ อิหม่ามอ่านเบา
สุนัตในเวลาฟัจรี่ หลังรุกูอะ อิหม่ามอ่านดัง และเป็นสุนัตในละหมาดวิติรเดือนเราะมะฎอน 15 คืนหลัง
สุนัตในละหมาดวิติร
สุนัตในละหมาดวิติร

เป็นทางเลือกที่จะทำในเราะกะอัตที่2ก่อนจะรุกูอะ
อ่านบิสมิลลาฮิ
มักรุห์ที่จะอ่านเพราะไม่เป็นส่วนหนึ่งของบทฟาติหะห์
เป็นส่วนของบทฟาติหะห์อิหม่ามอ่านดังในละหมาดภาคกลางคืน
เป็นส่วนของบทฟาติหะห์แต่อิหม่ามอ่านค่อย
อ่านดังในละหมาดยามค่ำคืน
ระบุเพียงว่า คำในกุรอานไม่ได้เป็นของคุณ แต่คำพูดของอัลลอฮ มีในชื่อของพระองค์
จำเป็นในทุกซูเราะห์ ยกเว้นซูเราะห์อัลเตาบะห์ ไม่ว่าจะละหมาดหรือไม่
ตำแหน่งการยืน



ห้ามยืนต่อเท้าชิดกัน
ยืนชิดกันมาก
ผู้ชายไม่ต่อเท้ากัน แต่ผู้หญิงต้องยืนชิดกัน
ตำแหน่งการมอง



ในตำแหน่งสุญูด
ในตำแหน่งสุญูด
ในตำแหน่งที่ละหมาด
เริ่มตักบีเราะตุ้ลอี้หะรอม

เริ่มขึ้นตั้งแต่เหนียตจะสมบูรณ์เมื่อมือยกถึงติ่งหู แต่ของผู้หญิงยกแค่ไหล่

เริ่มตั้งแต่กล่าวอัลลอฮุ อักบัร
เริ่มตั้งแต่กล่าวอัลลอฮุ อักบัร มือยกถึงไหล่หรือติ่งหู ฝ่ามือหันออกไปกิบลัต

ตำแหน่งการวางมือ
ปล่อยมือลงไม่กอดอก
เหนือสะดือแต่ใต้อก

ชาย - ที่สะดือ หญิงบนหน้าอก
มือทั้งชายและหญิงวางที่หน้าอก
ปล่อยมือลงไม่กอดอก
ดุอาอ์อิฟติตะห์

อัลลอฮุ อักบัร กะบีรอ วัลฮัมดุ ลิลลาฮิกะษีรอ วะ ซุบฮานัลลอฮิ บุครอเตา วะ ศีลา และสุนัตการมองจุดละหมาด

เป็นสุนัต
เป็นสุนัต แต่จำเป็นทำ
ไม่มีอ้างอิง
กล่าวตะเอาวุซ(อะอูบิลลาฮิฯ)

สุนัตแต่อิหม่ามอ่านค่อย


กล่าวตะเอาวุซ(อะอูบิลลาฮิฯ)

อ่านฟาติหะห์

อ่านทุกเราะกะอัต

อ่านทุกเราะกะอัต
อ่านทุกเราะกะอัต แต่จะหยุดนิ่งชั่วครู่หลังจบฟาติหะห์
อ่านเพียง 2 เราะกะอัต
กล่าว”อามีน”



กล่าว
กล่าว
กล่าวอัลฮัมดุ ลิลลาฮิ รอบบิล อ้าละมีน
อ่านเบา



อ่านเบาในเราะกะอัตที่ 3 หรือ 4
เป็นทางเลือก
ซูเราะห์อิคลาศต้องอ่านวันละครั้ง ถ้าอ่านซูเราะห์อัลฟีลหรือกุร็อยช์ ในเราะกะอัตที่1 ก็ต้องอ่านซูเราะห์อินชิเราะห์หรืออัตตีน
ระดับความดัง



ในละหมาดฟัจรี่ และ2เราะกะอัตแรกในมักริบและอิชาอ์
ในละหมาดฟัจรี่ และ2เราะกะอัตแรกในมักริบและอิชาอ์
ในละหมาดฟัจรี่ และ2เราะกะอัตแรกในมักริบและอิชาอ์


ชื่อละหมาด
ช่วงเวลา(วักตุ)
ละหมาดสุนัตก่อนฟัรดู
ฟัรดูบังคับ
ละหมาดสุนัตหลังฟัรดู
ซุนนี
ชีอะห์
ซุนนี
ชีอะห์
ฟัจรี่ Fajr (فجر)
รุ่งอรุณแสงขาวแรกจับขอบฟ้า จน ถึงก่อนตะวันขึ้น 10-15นาที
2 เราะกะอัตเป็นมุอักกัดดะห์
2 เราะกะอัต
2 เราะกะอัต
2 เราะกะอัต
ซุหฺรี่ Zuhr (ظهر)
หลังตะวันเที่ยงไปจนเข้าอัศรี่
4 เราะกะอัตเป็นมุอักกัดดะห์
4 เราะกะอัต
4 เราะกะอัต
2 เราะกะอัตเป็นมุอักกัดดะห์
8 เราะกะอัต
อัศรี่ Asr (عصر)
เงายาวเท่าตัวเองไปแล้ว
-
4 เราะกะอัต
4 เราะกะอัต
-
8 เราะกะอัต
มักริบ Maghrib (مغرب)
หลังตะวันลับขอบฟ้าจนมืดลง
-
3 เราะกะอัต
3 เราะกะอัต
2 เราะกะอัตเป็นมุอักกัดดะห์
2 เราะกะอัต
Isha (عشاء)
มืดมิดหลังมักริบไปจนก่อนแสงจับขอบฟ้าใหม่
บางสำนักรายงาน ว่ามักรุห์ถ้าละหมาดหลังเที่ยงคืน
-
4 เราะกะอัต
4 เราะกะอัต
2 เราะกะอัต เป็นมุอักกัดดะห์  และวิติร
3 เราะกะอัต
2 เราะกะอัต



หนังสืออ้างอิง
1. มือมุสลิมเบื้องต้น (ฉบับสมบูรณ์) โดย อาจารย์การีม อับดุลเลาะฮ์ สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม กรุงเทพ
2. วิธีละหมาดตามบัญญัติอิสลาม พิมพ์ครั้งที่ 7 โดยอัล-อิศลาหฺสมาคม บางกอกน้อย สำนักพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์ กรุงเทพ นายฉลอง อัมไพรวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
3. นมาซของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ โดย อิสมาอีล อะหฺมัด สมาคมญัมอียะตุลอิสลาม (เจ้าของ) พิมพ์ครั้งที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สำนักพิมพ์ บริษัท กรีน ออกัสท์ จำกัด กรุงเทพ
4. หะดีษ เล่ม 2 โดยอาจารย์อิสมาอีล วิสุทธิปราณี และอาจารย์ชาฟิอี นภากร กรรมการอิลาม กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์วุฒิกรการพิมพ์ กรุงเทพ ฃนายมานิตย์ งามมานะ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
5. หะดีษซอเฮี๊ยะฮ์ เล่ม 1 ภาค ความสะอาด บทที่ 1 หน้า 37 โดย อรุณ บุญชม สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม กรุงเทพฯ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
มุสลิมในประเทศไทย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ
สุญูดซะฮ์วิ (ภาคภาษาอาหรับ)
สุญูดซะฮ์วิ (ภาคภาษาอาหรับ จาก อิสลามเฮ้าส์)

เรียบเรียงโดยฮัจญีอิสมาอีล อานนท์ เพ็ญพันธ์ aswasal@gmail.com