วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์อิสลามที่พบเห็นบ่อยๆ

بسم الله الرحمان الرحيم

 ภาพกราฟิกของคำว่า بسم الله الرحمان الرحيم  “บิสมิลลา ฮิรเราะห์ มานิรเราะห์ฮีม” ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ  
หลักการปฏิบัติ (รุกุ่น الركن ) – ในภาษาอาหรับเรียกว่า “รุกุ่น (الركن เอกพจน์, อัรเราะกาน الاركان พหูพจน์) ” แปลว่า กฎ  ข้อบังคับ มุม ในอิสลามมีกฎการปฏิบัติ 5 ประการ คือ
1.        การปฏิญาณ (اَلشَّهَادَاتَيْنَ) (Promising to Allah)ตนต่ออัลลอฮ์ว่า - “اَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ اِلَّا اللهُ وَ اَشْهَدُ اَنَّ مُحَمَّداَ رَسُوْلُ اللهِ / I bear witness that there is no god but God, and I bear witness that Muhammad is His messenger. / ฉันขอปฏิญาณว่าแน่แท้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮุและฉันขอปฏิญาณว่าแน่แท้แล้วมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮิ
2.        การตั้งมั่นในละหมาด (اَلصَّلاَةُ) (Pray, 5 times a day) - วันหนึ่งห้าเวลา (ดูเรื่องละหมาด)
3.        การจ่ายซะกาต (الزكاة) (Yearly Tax) - ทรัพย์สินเงินทอง สินค้า ปศุสัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร เข้าเกณฑ์พิกัดก็จะต้องนำจ่ายแก่ หน่วยงานที่ทำการเรื่องภาษี
4.        การถือศีล-อดในเดือนเราะมะฎอน (صوم رمضان) - เดือนเราะมะฎอนคือเดือนที่ 9 ในปีปฏิทินจันทรคติอิสลาม เริ่มถือศีลก่อนตะวันขึ้น และละศีลได้เมื่อตะวันลับขอบฟ้าล้า เป็นเวลา หนึ่งเดือน (29 หือ 30วัน)
5.        การไปปฏิบัติฮัจญ์ (الحج في بيت الله) – การไปปฏิบัติฮัจญ์นั้นมีหลักเกณฑ์ว่า
1)        ต้องมีความพร้อมทางร่างกาย (การที่ป่วยแล้วคิดว่าจะไปตายที่นครมักกะห์ขณะทำฮัจญ์นั้นมีความคิดที่ผิดจากหลักสาศนาอิสลาม)
2)        ต้องมีความพร้อมทางเศรษฐกิจภายในบ้านและครอบครัว อย่างไม่บกพร่อง ไม่มีหนี้สิน ไม่กู้หนี้ยืมสินใครเพื่อฮัจญ์
3)        ต้องมีความปลอดภัยระหว่างทาง
4)        ถ้าเป็นสตรีจำเป็นต้องมีมะหฺร็อม (ผู้ดูแลและคุ้มครองขณะไปทำฮัจญ์ “ท่านนบีฯ เคยให้สามีนายหนึ่งที่จะต้องไปสนามรบ ไปเป็นมะหฺร็อมแก่ภรรยาที่จะไปทำฮัจญ์)
 ภาพกราฟิกของคำว่า صلي الله عليه و سلم “ซ็อล ลัลลอฮุ อ้าลัยฮิ วะ ซัลลัม” ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงสรรเสริญ และให้ความสันติแด่ท่านบีมหัมมัด ด้วยเถิด
เศาะหาบะฮฺ (صحابة ) – คือบรรดาเหล่าคนใกล้ชิด คนสนิท คนติดตาม คนคอยช่วยเหลือ สาวก ท่านนบีฯ
อัลลอฮ์ اَللّهُ – เป็นชื่อหนึ่งของพระเจ้าผู้ทรงเอกะของยิว คริสต์ อิสลาม ในภาษาอาหรับมีชื่อเรียกอัลลอฮ์ 99 พระนาม
ละหมาด - เป็นคำที่แผงมาจาก นมาซ نماز ในภาษาเปอร์เซีย และอูรดู ซึ่งมีความหมายว่า การนมัสการ สักการะ ต่ออัลลอฮ์ มีความหมายในภาษาอาหรับว่า "เซาะลาต์  الصلاة" มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Pray
ซุนนะตุ้นนบี سنة النبي - คำว่า "ซุนนะห์ หมายถึงแบบอย่างพระจริยาวัตรและพระวัจนะพระดำรัสท่านศาสดามุฮัมมัด  คำว่า "นบี" หมายถึงศาสดาต่าง ๆ ท่านได้วิวรณ์จากคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลอฮ์ ผ่านมะลาอิกะห์ (ทูตจากอัลลอฮุนำสาสน์มาสู่ท่านศาสดามุฮัมมัด)
นบี – คือบรรดาท่านศาสดาต่างๆ แต่ไม่ได้รับคัมภีร์มาเผยแผ่แก่ประชาชาติ ในอัลกุรอานกล่าวนามไว้ประมาณ 25 ท่าน
ศาสนทูตหรือ เราะซู้ล (رسول الله ) – คือนบีที่ได้รับคัมภีร์มาเผยแผ่ศาสนาด้วย เช่นท่านนบีมูซา (Moses) ได้รับคัมภีร์เตาร็อต توراة Torah (Old Testament), ท่านนบีอีซา (Jesus) ได้รับคัมภีร์อินญีล انجيل Bible (New Testament), ท่านนบีมุฮัมมัด (Muhammad) ได้รับคัมภีร์อัลกุรอาน القران Al Quran
มะลาอิกะห์ ملاكة - คือบริวารของอัลลอฮ์ที่ถูกสร้างจากรัศมีของอัลลอฮ์ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเพศ ไม่กินไม่ดื่ม ไม่หลับไม่นอน ไม่ขยายเผ่าพันธุ์ มีชั้นศักดิ์ต่ำกว่ามนุษย์ มีหน้าที่นำสาสน์หรือพระดำรัสมาสู่ท่านศาสดา มะลาอิกะห์ไม่ใช่ทูตสวรรค์ ไม่ใช้ เทวดานางฟ้า ไม่ใช่ Angle
โองการ  وهي (วะฮี) - [n.] divine prescription [n.] a command - คือคำพระดำรัสจากอัลลอฮ์ ผ่านมะลาอิกะห์ มาสู่ท่านนบี
เซาะฮาบะห์ صحابة (สาวก) - ศิษย์,ผู้เจริญรอยตาม,ลูกศิษย์,ศิษยานุศิษย์,สานุศิษย์ ของท่านนบีมุฮัมมัด  
ตักบีร تكبير - คือการกล่าวว่า "อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر" อัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่ และถ้าใช้ในห้วงเวลาละหมาดจะหมายถึง การยกมือทั้งสองแบออกนอกตัวเหมือนว่า จะยื่นไปแตะจับหินดำ ยกขึ้นเสมอไหล่ แล้วกล่าว "อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر"
สลาม سلام - คือคำย่อมาจากคำว่า อัสลามุ อ้าลัยกุ้ม วะ เราะห์ มะตุ้ลลอฮิ วะ บะรอกาตุฮ์ (اسلام عليكم و رحمة الله وبركاته)
หะดีษ حديث - คือบทบันทึก พระวัจนะและจริยวัตรและพระดำรัสชองท่านนบีมุฮัมมัด
ความสะอาด (الطهارة) Purity, Cleanness  - คือความสะอาดทั่วไปและความสะอาดทางร่างกายต้องเป็นไปตามอิสลามบัญญัติด้วย ไม่เพียงอาบน้ำถูสบู่อย่างเดียว
น้ำละหมาด الوضوء Ablution - คือสภาพของร่างกายที่ผ่านการทำความสะอาดตามอิสลามบัญญัติ ดูวิธีการอาบน้ำเล็ก (الوضوء) และวิธีการอาบน้ำใหญ่ (جنابة)
ญะนาบะห์ (جنابة) – หทายถึงสภาพร่างกายที่มีมลทินทางศาสนา ไม่สามารถทำละหมาดได้ ต้องชำระร่างกายด้วยวิธีทางอิสลามเสียก่อน หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาบน้ำยกหะดัสใหญ่ หรืออาบน้ำญูนุ้บ (ญูนุ้บ جنب) ดูรายละเอียดการอาบน้ำที่เนื้อหา
รายงานโดย หรือ บันทึกโดย (ชื่อเขา) ... – คือผู้ที่รวบรวมบันทึกหะดีษต่างๆไว้ ซึ่งมีหลายคน เช่น
ลูกศิษย์ของพวกเขา : ลูกศิษย์ของลูกศิษย์ของผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน ลำดับชั้นที่ 7
   • อัลบุคอรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 256)
   • มุสลิม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 271)
   • อิบนุ มาญะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 273)
   • อบูหาติม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 277)
   • อบูซุรอะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 264)
   • อบูดาวูด (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 275)
   • อัตติรมีซีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 279
   • อันนะสาอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 234)
ฯลฯ
ญิน มีคำศัพท์ที่คล้ายกันคือ ญิน جن genieคือภูตทีถูกสร้างจากไฟเช่นกัน แต่ไม่มีอำนาจเท่าชัยตอนที่คอยยุยงให้มนุษย์ทำชั่ว  ญินอาศัยอยู่ทั้งบนโลกดุนยาและไปมาระหว่างใต้ชั้นสวรรค์ได้ มีทั้งเพศผู้ เพศเมีย ญินมีทั้งประเภทดี และประเภทร้าย
ชัยตอน شيطان Demon  - คือภูต (ภูตในที่นี้มิได้หมายถึงผีหรือปิศาจ มันเป็นร่างที่ถูกสร้างมาจากไฟ) ร้ายที่คอยชักชวนมนุษย์ให้ทำความชั่ว ชัยตอนมันถูกอัลลอฮ์สร้างมาจากไฟ ได้รับอภิสิทธิ์ให้แปลงร่างได้เพื่อหลอกล่อมนุษย์ให้ทำชั่ว เพราะมันเคยโต้แย้งกับอัลลอฮ์ว่า มนุษย์นั้นมีนิสัยชอบไปทางชั่วมากกว่าทางดี แต่อัลลอฮ์ก็แย้งว่าให้มนุษย์ตัดสินใจเอาเอง ระหว่างอัลลอฮ์ผู้ประทานทุกสิ่งอย่างให้แก่มนุษย์ยังชีพบนดุนยา دنيا  (ภพภูมินี้) ซึ่งมีทั้งคำเตือนคำสอนให้มนุษย์ทำอิบาดะห์เป็นข้อทดแทนพระองค์
อิบลิส ابليس Satan – คือภูตที่สร้างมาจากไฟ เช่นเดียวกับชัยตอน แต่มัเป็นหัวหน้าของชัยตอน มีอภิสิทธิ์เข้าออกสวรรค์ได้ แต่ที่พำนักมันอยู่ในนรก มีอำนาจเหมือนชัยตอนสามารถแปลงร่างได้ตามปรารถนา มีหน้าที่คอยชักชวนมนุษย์ผู้เกียจคร้านให้ละทิ้งอาม้าลอิบาดะห์ มันคอยยุแหย่ว่า อาม้าลอิบาดะห์นั้นเหนื่อยยาก วุ่นวาย เสียเวลากับความสุขความรื่นเริง มันคอยกระซิบข้างหูเราว่า การทำอาม้าลอิบาดะห์นั้นผัดผ่อนไปก่อนได้ เดี๋ยวค่อยทำ พรุ่งนี้ค่อยทำ
วิญญาณ (روح spirit) เป็นคำนามในภาษาไทยหมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ โดยปริยายหมายถึงจิตใจเช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน (เป็นคำปาลีและสันสกฤต) ในอิสลาม คือ รั๊วหฺ ที่อัลลอฮ์เป่าใส่ในร่างมนุษย์ (ที่ถูกสร้างมาจากดิน) เมื่อยังอยู่ในครรภ์มารดาประมาณเดือนที่ 3 วิญญาณได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการสักการะแต่อัลลอฮ์โดยให้คัมภีร์อัลกุรอานมาเป็นทางนำ ให้นบีมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
บัยตุ้ลเลาะฮ์ بيت الله Allah House – ใช้เรียกอาคารวิหารย์กะอะบะห์ที่ท่านนบีอิบรอฮีม  (عاليه سلام ขอความศานติจงมีแด่ท่านด้วยเทอญ) ปฏิสังขรณ์ขึ้นมาจากการสร้างของมะลาอิกะห์สมัยนบีอาดัม  (عاليه سلام ขอความศานติจงมีแด่ท่านด้วยเทอญ)
อิกอมะห์ اقامه คือการป่าวประกาศว่าให้ลุกขึ้นทำละหมาด มีความหมายควบคู่กับ อะซาน (اذان)
อะซาน (اذان) – คือการป่าวประกาศว่าถึงเวลาละหมาดแล้ว ให้มุสลิมีนทั้งหลายมาละหมาดร่วมกันที่มัสญิด
ฟัรดู   الفرائض – คือ กฎ ข้อบังคับ กฤษฎีกา กฎหมาย พระราชบัญญัติ 
ตักบีเราะตุลอี้หะรอม تكبيرة الإحرام คือการตักบีรครั้งแรกในการละหมาด ตักบีรหลังจากนี้เรียกตักบีรธรรมดา วิธีการคือ หันหน้าไปทางกิ๊บลัต (القبلة) (จุดที่อาคารกะอฺบะห์ตั้งอยู่ คือมัสญิดิ้ลหะรอม นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิ อาราเบีย) ยกมือทั้ง 2 ข้าง แบเอาฝ่ามือออกจากตัว ยกประมาณเสมอไหล่ พร้อมกับกล่าวว่า “อัลลอฮุ อักบัร الله اكبر” เอามือลงมากอดอกระดับใต้ราวนม โดยให้ฝ่ามือขวา ทับหลังมือซ้ายไว้
ละหมาดสุนัต – คือละหมาดเสริมจากละหมาดฟัรดูเป็นละหมาดภาคใจอาสา ไม่ทำไม่บาป ทำแล้วได้บุญ ผลบุญนี้จะไปช่วยซ่อมเสริมละฟมาดฟัรดูที่บกพร่องไป
ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (راصي الله عنها) – เป็นการขอพรให้แด่บรรดาท่านสาวก (เซาะฮาบะห์)
“ขออัลลอฮ์ทรงให้ความปิติแด่เธอด้วยเทอญ”

เป็นการขอพรจากอัลลอฮุให้บรรดาท่านสาวกทั้งหลาย
ถ้าเป็นการให้แด่ท่านสาวกหญิง “ร่อดิยัลลอฮุอันฮา  
راصي الله عنها Allah Please Delight her.”
ถ้าเป็นการให้แด่สาวกชายคนเดียว ใช้ “ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ
 راضي  الله عنه Allah Please Delight him.”
ถ้าเป็นท่านสาวกชายหลายคน ใช้ “ร่อดิยัลลอฮุอันฮุม راضي  الله عنهم Allah Please Delight them.
นั่งตะชะฮู้ด تشهود – นั่งตะชะฮู้ดคือการนั่งตามแบบอิสลามบัญญัติเรื่องการละหมาด วิธีการนั่งคือ
1.     การนั่งตะชะฮู้ดแรก คือการนั่งเอาขาพับมาข้างหลัง ขาและน่องและฝ่าเท้าซ้ายรองก้น เท้าขวาใช้ท้องนิ้วเท้ายันพื้น ฝ่าเท้าและส้นเท้าตั้งชันขึ้น น่องเหยียดอยู่ข้างลำตัวชี้ไปข้างหลัง มือซ้าย แบ วางอยู่บนเข่า มือขวากำคว่ำ แยกนิ้วชี้ออก วางอยู่บนเข่า
2.     การนั่งตะชะฮู้ดหลัง คือการนั่งอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าการนั่งแบบ “ตะวัรรุก” คือการนั่งเอาปลายเท้าซ้ายสอดเข้าใต้แข้งขวา ก้นจะนั่งบนพื้น เท้าขวาเหมือนเดิมคือ ท้องนิ้วเท้าขวาจะยันอยู่กับพื้น ฝ่าเท้าและส้นเท้าจะตั้งชันขึ้น น่องเหยียดอยู่ข้างลำตัวชี้ไปข้างหลัง มือซ้าย แบ วางอยู่บนเข่า มือขวากำคว่ำ แยกนิ้วชี้ออก วางอยู่บนเข่า
ขณะนั่งตะชะฮู้ดนั้นให้อ่านคำขอพร หรือดุอาอ์ตะชะฮู้ด หรือ เรียกว่าบท “อัตตะฮี่ยาต”

สลาม السلام عليكم ورحمة الله – คือการกล่าวให้พรแก่บุคคลที่อยู่ข้างหน้าหรือด้านข้าง
อัสลามุ แปลว่า ขอความศานติสุขแด่ท่าน
อ้าลัยกุ้ม แปลว่า ถึงพวกท่าน
วะ เราะหฺ มะตุ้ลลอฮิ แปลว่า และขอความเมตตาปราน๊จากอัลลอฮ์สู่ท่าน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก